^ Back to Top

ประกาศผลการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6 สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) และออนเอเชีย

กรุงเทพฯ – สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) และออนเอเชีย เอเจนซี่ ภาพถ่ายออนไลน์ชั้นนำ ได้ทำการประกาศรายชื่อผู้ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การประกวดภาพถ่ายครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ดึงดูดช่างถ่ายภาพมืออาชีพกว่า 375 ท่านให้ส่งผลงานกว่า 6, 000 ชิ้นเข้าร่วมประกวด ซึ่งคณะกรรมการได้คัดสรรผู้ชนะในแต่ละประเภท ได้แก่ ภาพในเหตุการณ์ข่าว ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ (ประเภทการแข่งขันพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย) และภาพชุดเล่าเรื่อง นอกจากนั้นคณะกรรมการยังได้คัดเลือกช่างภาพดีเด่นประจำปีซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดของการประกวดอีกด้วย

โดยเหล่าผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพถ่ายเชิงข่าว ครั้งที่ 6 ได้แก่

ภาพชุดเล่าเรื่อง โดย วลาด โซคิน

ช่างภาพแห่งปี ประเภทภาพชุดเล่าเรื่อง
โดย วลาด โซคิน

ชาวดานีคนสุดท้าย

ประชากรชาวดานีที่อาศัยอยู่ในหุบเขาบาเลียม ซึ่งตั้งในจังหวัดเวสต์ปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ในอดีตพวกเขาใช้ชีวิตตามแบบยุคหินและกินเนื้อพวกเดียวกันเพื่อดำรงชีวิต แต่ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อจังหวัดเวสต์ปาปัวร่วมกัประเทศอินโดนีเซีย  นโยบายการตั้งถิ่นฐานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ผู้อาศัยละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของพวกเขา ส่งผลให้สินค้าราคาถูกจากประเทศอินโดนีเซียและจีนอพร่หลายทั่วภูมิภาค ประชากรที่นับถือขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมเริ่มลงน้อยลงเรื่อยๆ มีเพียงประชาชนในหมู่บ้านแถบใกล้วาเมนา เมืองหลวงของบาเลียม วาลเลย์เท่านั้นที่ยังใช้วิถีชีวิตแบบดานีดั้งเดิมอยู่ นักท่องเที่ยวต่างชาติยินดีจ่ายเงินให้พวกเขาสำหรับการถ่ายภาพและซื้อสินค้า หัตถกรรม ซึ่งหัวหน้าแต่ละหมู่บ้านยังคงใช้ฝักปกปิดอวัยวะเพศอยู่ แต่พวกเขาจะเก็บเงินออมที่หามาได้ไว้ในธนาคารและรักษาวิถีชีวิตในรูปแบบดั้ง เดิมนี้เอาไว้เพียงเพื่อหารายได้เท่านั้น

ในภาพ อาซิค ฮาลู อายุ 67 ปี โพสต์ท่าอยู่ใกล้กับเครื่องเอทีเอ็ม ของธนาคารบีอาร์ไอ ในเมืองวาเมนา อาซิคทำรายได้จากนักท่องเที่ยวโดยเขาอนุญาตให้พวกเขาถ่ายภาพ แลกกับค่าตอบแทนราคา 50 เซ็นต์ ถึง  1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการถ่ายภาพหนึ่งครั้ง นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่นอีกด้วย ทำให้เขามีรายได้มากถึง 10 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง60 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันและเขายังคงเก็บเงินที่หามาได้ไว้ในธนาคารต่อไป

 

ภาพในเหตุการณ์ข่าว โดย มูเนียร์ อัซ ซามาน จากสำนักข่าวเอเอฟพี

ผู้ชนะการประกวดประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว
โดย มูเนียร์ อัซ ซามาน จากสำนักข่าวเอเอฟพี

ชาวมุสลิมโรฮิงญา ขณะกำลังพยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังคลาเทศ เพื่อหนีจากความรุนแรงในประเทศพม่า ขณะมองออกไปนอกเรือ ในเมืองเท็คน๊าฟ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยชาวมุสลิมโรฮิงญาอย่างน้อย 50 คน เสียชีวิตในรัฐยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า จากเหตุการณ์ความรุนแรงเกี่ยวกับการแบ่งแยก และการโจมตีแก้แค้นระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าหนึ่งสัปดาห์

 

ภาพในเหตุการณ์ข่าว โดย คริสโตเฟอร์ อาชชงบรูตจากสำนักข่าวเอเอฟพี

รางวัลชมเชยประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว
โดย คริสโตเฟอร์ อาชชงบรูต จากสำนักข่าวเอเอฟพี

นางอองซานซูจี (กลาง) ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า กำลังโบกมือขณะที่รถเคลื่อนฝ่าฝูงชนผู้สนับสนุน พร้อมกับที่เธอมาถึงการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญรณรงค์การเลือกตั้งของเธอ ณ สนามกีฬาในเมืองปะเต็นซึ่งอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งขึ้นไปทางด้านตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร

 

ภาพในเหตุการณ์ข่าว โดยไกเซอร์ ไฮเดอร์

รางวัลชมเชยประเภทภาพในเหตุการณ์ข่าว
โดยไกเซอร์ ไฮเดอร์     

อาช่าโมนี (อายุ 1 ปีครึ่ง) ได้เสียชีวิตพร้อมกับครอบครัวในเหตุการณ์ดินถล่มครั้งล่าสุดในเมืองจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ โดยจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดินถล่มทุกปี

 

ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว โดย อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ดจากองค์กรกรีนพีช

ผู้ชนะการประกวดประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
โดย อเล็กซ์ โฮฟฟอร์ดจาก องค์กรกรีนพีช

โจเอล  กอนซากา นักประดาน้ำ จากเรือประมงฟิลิปปินส์ที่มีชื่อว่า “Vergene” เขามีอาชีพทำงานประมงปลาทูน่า โดยใช้เพียงแค่ท่ออากาศพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์ขึ้นสนิมบนเรือประมงในการทำงานเมื่อวันที่   12 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 บางทีวิธีดังกล่าวอาจเป็นการจับปลาที่อันตรายที่สุด โดยการใช้ท่อพลาสติกเชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์เป็นที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์  ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ปาลิง (Pa-aling)”  ซึ่งกอนซากาให้ข้อมูลว่า เขาใช้เวลาอยู่บนเรือหลายเดือนในแต่ละครั้งทำให้เห็นการบาดเจ็บร้ายแรงและเสียชีวิตบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด คือ การเสียชีวิตจากการดำน้ำด้วยวิธีปาลิงเนื่องจากอาการป่วยจากความดันที่ลดลงหรือ “the bends” วิธีการจับปลาที่เป็นอันตราย เช่น วิธีปาลิงถือเป็นเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการจับปลาปริมาณมากเกินไปในแถบประเทศฟิลิปินส์และรอบนอก

 

ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว โดยอัคลาส อุดดิน

รางวัลชมเชยประเภทภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
โดย อัคลาส อุดดิน

ผู้ใช้แรงงานดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ขณะที่ทำงานอยู่ในโรงงานรีไซเคิลพลาสติกขนาดเล็กที่ ตั้งอยู่ในเมืองซิลเฮต เพื่อดำรงชีวิต งานของเธอ คือการแยกขวดสีที่แตกต่างกันก่อนนำขวดไปล้างทำความสะอาดแล้วทำให้แห้งเพื่อแลกกับค่าจ้างวันละประมาณ 100 ถึง 120 ทากา  (1.25 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ) เธอ ยังเก็บเศษน้ำมันปรุงอาหารที่หลงเหลือในขวดกลับไปบ้านเพื่อปรุงอาหารให้กับ ครอบครัวของเธออีกด้วย โดยเกือบร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศบังคลาเทศมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าระดับ ความยากจนและมีชาวบ้านอีกเป็นจำนวนมากเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ

 

ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ - จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล ภาพชุดเล่าเรื่องโดย เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์

ผู้ชนะการประกวด ภาพเกี่ยวกับประเด็นการอพยพ - จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล
ภาพชุดเล่าเรื่อง โดย เจมส์ โรเบิร์ต ฟูลเลอร์

จากพม่าสู่เมืองบัฟฟาโล : ตั้งถิ่นฐานใหม่ยังประเทศสหรัฐอเมริกา บท ความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะยาวเกี่ยวกับครอบครัวชาวกะเหรี่ยงที่ อพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและวิธีที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะปรับตัวใช้ชีวิต ที่นั่นจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าจากปี พ.ศ. 2549 ถึงปลายปี พ.ศ.2554 มีผู้ลี้ภัยจำนวน 83,902 คน จากประเทศพม่าอพยพมาตั้งถิ่นฐานยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 27 ของผู้ลี้ภัยที่เดินทางมายังประเทศ สหรัฐอเมริกา เอกสารของโครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ภายในครอบครัว และกระตุ้นพัฒนาการที่แตกต่างกันของสิ่งพวกเขาเรียกว่า “บ้าน” และเมื่อถึงเลาที่พวกเขามีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการเป็นพลเมืองสหรัฐฯและได้รับคำเชิญจากนางอองซานซูจี ที่เรียกร้องให้ชาวพม่าพลัดถิ่นกลับคืนสู่บ้านเกิด พวกเขาได้รับการนำเสนอทางเลือกว่าจะดำเนินชีวิตที่ไหนอย่างไรในอนาคต

ในภาพ เชอร์ เนย์ตู (อายุ 19 ปี) พูดคุยกับเด็กๆ ในพื้นที่ซึ่งอยากรู้เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กของเขาในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก

 

ภาพชุดเล่าเรื่อง – ความงานอันลุ่มลึก  โดยคาซูฮิโกะ มัตสึมูระ

ผู้ชนะการประกวด ภาพชุดเล่าเรื่อง – ความงานอันลุ่มลึก
โดย คาซูฮิโกะ มัตสึมูระ 

นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ไมโกะ และไกโกะ ในเมืองเกียวโต ที่ประกอบด้วยชุมชนทั้งสิ้น 5 ชุมชน ผู้หญิงหลายคนปรารถนาที่จะเป็นไมโกะ ก็จะมาที่ชุมชนเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่พวกเธอก็จะจากไปอย่างรวดเร็วเพราะความเข้มงวดในการใช้ชีวิตของไมโกะและไกโกะมีความเข้มงวด พวกเธอต้องต้อนรับแขก โดยเฉพาะผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวยในงานปาร์ตี้สุดหรูสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นพวกเธอจึงต้องสง่างาม สุขภาพนุ่มนวล สวยงาม และสนุกสนาน พวกเธออาศัยอยู่ในบ้านกับมาดาม โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตนให้เป็นไมโกะกับมาดามซึ่งมันเป็นงานที่หนักมาก หลังจากที่ได้เป็นไมโกะหลายปี เมื่อพวกเธอมีอายุเกิน 20 ปี พวกเธอเลื่อนสถานะเป็นไกโกะ

ในภาพ อุเมยาเอะ อายุ 21 ปี และอุเมชิเอะ อายุ 16 ปี กำลังทำความสะอาดห้องพักโดยในทุกๆ เช้า พวกเขาต้องซักรีดเสื้อผ้า และต้องทำความสะอาดห้องต่างๆ รวมถึงโรงน้ำชาที่พวกเขาใช้สร้างความบันเทิงให้กับแขก ก่อนที่จะไปฝึกการแสดงเพื่อความบันเทิงสไตล์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

 

ผู้ชนะการประกวด ภาพชุดเล่าเรื่อง – ความงานอันลุ่มลึก  โดยคาซูฮิโกะ มัตสึมูระ

ผู้ชนะการประกวด ภาพชุดเล่าเรื่อง – ความงานอันลุ่มลึก
โดย คาซูฮิโกะ มัตสึมูระ 

นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ไมโกะ และไกโกะ ในเมืองเกียวโต ที่ประกอบด้วยชุมชนทั้งสิ้น 5 ชุมชน ผู้หญิงหลายคนปรารถนาที่จะเป็นไมโกะ ก็จะมาที่ชุมชนเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่พวกเธอก็จะจากไปอย่างรวดเร็วเพราะความเข้มงวดในการใช้ชีวิตของไมโกะและไกโกะมีความเข้มงวด พวกเธอต้องต้อนรับแขก โดยเฉพาะผู้ชายที่มีฐานะร่ำรวยในงานปาร์ตี้สุดหรูสไตล์ญี่ปุ่น ดังนั้นพวกเธอจึงต้องสง่างาม สุขภาพนุ่มนวล สวยงาม และสนุกสนาน พวกเธออาศัยอยู่ในบ้านกับมาดาม โดยได้รับการฝึกฝนวิธีการปฏิบัติตนให้เป็นไมโกะกับมาดามซึ่งมันเป็นงานที่หนักมาก หลังจากที่ได้เป็นไมโกะหลายปี เมื่อพวกเธอมีอายุเกิน 20 ปี พวกเธอเลื่อนสถานะเป็นไกโกะ

ในภาพ โทมิทาเอะ อายุ 16 ปี กำลังเล่นเกมโทระ โทระ อยู่กับแขกของเธอ โดยเธอรับบทเป็นเสือและแขกของเธอรับบทเป็นผู้บัญชาการทหาร ในเกมส์นี้แขกของเธอเป็นฝ่ายชนะ เพราะว่าผู้บัญชาการทหารมีอำนาจที่จะชนะเสือ

 

ภาพแห่งประจำปี - ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัว ภาพชุดเล่าเรื่องโดย วลาด โซคิน

ช่างภาพแห่งประจำปี - ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปาปัว ภาพชุดเล่าเรื่อง
โดย วลาด โซคิน

ในปาปัวนิวกินี สองในสามของผู้หญิงได้พบเจอกับความรุนแรงภายในครอบครัว และอีกประมาณร้อยละ 50 ของผู้หญิงได้ตกเป็นเหยื่อของการถูกคุกคามทางเพศ ความโหดร้ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์พบมากในหลาย จังหวัด ในกรณีของการเสียชีวิตที่ไม่คาดคิดในหมู่บ้าน ประชาชนมักจะกล่าวหาว่าผู้หญิงเป็นสาเหตุการตายและความทรมานเธอ โดยประชาชนจะบังคับให้ยอมรับว่าตัวเธอเป็นแม่มด ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตจากการถูกลงโทษ ถึงแม้ผู้หญิงจะรอดชีวิตอ เธอก็มักจะถูกขับไล่ออกจากชุมชนเป็นการถาวร ถึงแม้ความรุนแรงจะกระจายอย่างกว้างขวางแต่รัฐบาลประเทศปาปัวนิวกินี  ก็ ไม่ได้มีโครงการที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอันเกี่ยวข้อง กับเวทมนตร์และไม่ได้จัดหาที่พักพิงให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อแต่อย่างใด

ในภาพ ราสต้า (อายุประมาณ 60 ปี) ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด จากคนในหมู่บ้านของเธอ หลังการตายของชายหนุ่มคนหนึ่งในปี พ.ศ. 2546 ระหว่างงานศพ ฝูงชนได้รุมล้อมราสต้า และเริ่มทุบตีเธออย่างรุนแรง เอาเชือกมารัดคอ ปาขวาน มีดและท่อนไม้ใส่ ราสต้าหลบหนีออกมาได้และวิ่งเข้าไปในบ้านของเธอ เธอถูกจับได้โดยหนึ่งในผู้ที่บุกรุกเข้ามาในบ้านของเธอ พวกเขาพยามยามที่จะตัดหัวของราสต้าด้วยมีด แต่เธอก็พยามยามปกป้องตัวเองด้วยแขนซึ่งเป็นเหตุให้เธอต้องสูญเสียแขนไป ราสต้ารอดมาได้จากเหตุการณ์ในวันนั้น แต่ต้องออกจากหมู่บ้านไปแบบถาวร สามีของเธอได้รับเงินจำนวน 600 คีน่า จากผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเพื่อชดเชยที่ได้ทำร้ายภรรยาของเขา แต่ราสต้ากลับไม่เคยได้รับเงินจำนวนนั้นจากสามีของเธอเลย และเธอต้องขอความช่วยเหลือจากญาติของเธอในหมู่บ้านคุดจิพที่ซึ่งเธออาศัยอยู่ในปัจจุบัน

ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แพทริค บาร์ตา คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) อีเมล์ Patrick.barta@wsj.com หรือ โทรศัพท์หมายเลข 081-309-9109 นอกจากนี้ยังสามารถติดตามการประกาศผลรางวัลได้ที่ http://fcct.onasia.lightrocketmedia.com และสามารถรับชมภาพผลงานที่ได้รับรางวัลในแต่ละประเภทได้ที่ www.fccthai.com

Source: 
TQPR
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.