การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ในงานวันวิทยาศาสตร์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
1. หลักการและเหตุผล
วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เช่น การศึกษาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสาคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งปลูกฝังให้ประชากรของชาติ เห็นความสำคัญ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่เยาว์วัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่สนับสนุน ส่งเสริม และกระตุ้นให้เยาวชนของชาติได้ฝึกการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดให้มีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเยาวชนในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันต่อไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายคิดค้นผลงานด้านวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.3 เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2.4 เพื่อสนองนโยบายของชาติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าร่วมประกวด
3.2 เชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา และเห็นคุณรู้ค่าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการดำารงชีวิตประจาวันมากขึ้น
4. วิธีดำเนินการ
4.1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประชาสัมพันธ์การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ให้กับโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
4.2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม แต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินการ
4.3 คณะกรรมการดำเนินการประกวด ให้แต่ละโรงเรียนส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวด และรายงาน มาเพื่อพิจารณาคัดเลือก และตัดสินผลการประกวด
4.4 นักเรียนเจ้าของโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกนำโครงงานติดตั้งเพื่อให้คณะกรรมการตัดสิน และตั้งแสดงให้ผู้สนใจเข้าชมในงานวันวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
5. ระยะเวลาดำเนินการ กำหนดการแต่ละขั้นตอนในการจัดการประกวด ดังนี้
• วันที่ 14 มิ.ย.56 : แจ้งเรื่องไปยังโรงเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวด และรายงาน ไปยังคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และข่าวประชาสัมพันธ์ทาง www.chandra.ac.th/ , http://sci.chandra.ac.th
• วันที่ 19 ก.ค.56 : หมดเขตการรับสมัครเข้าร่วมประกวด (เวลาราชการ)
• วันที่ 24 ก.ค.56 : คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงงาน
• วันที่ 1 ส.ค.56 : แจ้งผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานรอบคัดเลือก
• วันที่ 22 ส.ค.56 :
1. นำแผงโครงงานมาติดตั้ง ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
2. นำเสนอโครงงานแบบวาจา ด้วย Power point
3. คณะกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ และประกาศผลการตัดสิน
• วันที่ 23 ส.ค.56 : รับรางวัล ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
6. ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
6.1 โครงงานที่ส่งประกวด ต้องเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งอาจเป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง สารวจข้อมูล หรือภาคทฤษฎี
6.2 ประเภทของโครงงาน แบ่งเป็น 3 สาขา ได้แก่
6.2.1 สาขากายภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา เช่น การสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี การปรับปรุงวัสดุด้วยกระบวนการทางเคมี
6.2.2 สาขาชีวภาพ หมายถึง โครงงานที่ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี เช่น การศึกษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การย่อยสลายด้วยเอนไซม์ การศึกษาด้านยีนและโปรตีน
6.2.3 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หมายถึง โครงงานที่แสดงได้ด้วยชิ้นงานซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีข้อมูลการทดลองใช้งานประกอบ
7. การสมัคร
7.1 ระดับของนักเรียนผู้มีสิทธิส่งโครงงาน
7.1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
7.2.2 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
7.2 จำนวนนักเรียน และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานในทั้งสองระดับ จานวนนักเรียนในโครงงาน 1 - 5 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1-2 คน
8. สถานที่ดำเนินการประกวดและติดต่อสอบถามรายละเอียด
8.1 สถานที่ดำเนินการ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในงานวันวิทยาศาสตร์
8.2 ส่งใบสมัครเข้าร่วมประกวด จานวน 1 ชุด/โครงการ และรายงาน จานวน 5 ชุด/โครงการ พิมพ์ด้วยกระดาษ ขนาด A 4 พร้อมแฟ้มข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดส่งไปที่
สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (สมัครการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556) 39/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร 0 2942 6900-99 ต่อ 5176 โทรสาร 0 2541 7877
E-mail address: sornprasert_r@hotmail.com
9. รางวัล
9.1 รางวัลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
9.1.1 เหรียญทอง 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 3,000 บาท และเกียรติบัตร
9.1.2 เหรียญเงิน 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 1,500 บาท และเกียรติบัตร
9.1.3 เหรียญทองแดง 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 1,000 บาท และเกียรติบัตร
9.1.4 เกียรติบัตรรางวัลชมเชย 3 สาขา ๆ ละ 2 รางวัล
9.2 รางวัลสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
9.2.1 เหรียญทอง 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 3,000 บาท และเกียรติบัตร
9.2.2 เหรียญเงิน 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 1,500 บาท และเกียรติบัตร
9.2.3 เหรียญทองแดง 3 สาขา ๆ ละ 1 รางวัล เงินสนับสนุน รางวัลละ 1,000 บาท และเกียรติบัตร
9.2.4 เกียรติบัตรรางวัลชมเชย 3 สาขา ๆ ละ 2 รางวัล เกียรติบัตร สาหรับอาจารย์ที่ปรึกษา
10. การตัดสิน การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
10.1 ภาพรวมของโครงงาน
10.1.1 ริเริ่มสร้างสรรค์
1) ความแปลกใหม่ของปัญหา การเสนอแนวคิด และการระบุตัวแปรที่ศึกษา (เป็นการดัดแปลงจากผู้ที่เคยทามาก่อนหรือการคิดขึ้นใหม่)
2) การออกแบบการทดลอง (เป็นการดัดแปลงจากที่ผู้อื่นเคยทามาก่อน หรือการคิดขึ้นใหม่ วิธีการแก้ปัญหา วิธีการวัดและควบคุมตัวแปร วิธีการรวบรวมข้อมูล การทดลองซ้า การเลือกและทดสอบความเหมาะสมของอุปกรณ์เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมละเอียดรอบคอบ สอดคล้องกับปัญหา)
10.1.2 การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์)
1) การสังเกตที่นำมาสู่ปัญหา
2) การตั้งสมมุติฐานที่ถูกต้อง และชัดเจน
3) การให้นิยามเชิงปฏิบัติการอย่างถูกต้อง
4) การทำการทดลอง โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง และเหมาะสม
10.1.3 การแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
1) การใช้หลักการทางานทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับความรู้และปัญหาโดยมีความเข้าใจ
2) การอ้างถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีความเข้าใจในความรู้ที่อ้างถึง
10.1.4 การแสดงหลักฐานการบันทึกข้อมูลอย่างเพียงพอ การบันทึกข้อมูลมีเพียงพอต่อเนื่อง และเป็นระเบียบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียดถี่ถ้วน ความมานะบากบั่น และความตั้งใจจริงในการทดลอง
10.1.5 คุณค่าของโครงงาน ต้องระบุคุณค่าหรือประโยชน์ของโครงงาน และในด้านการแก้ปัญหา
10.2 ภาพรวมของรายงาน (จำนวนหน้าทั้งหมดไม่เกิน 20 หน้า รวมภาคผนวกอีกไม่เกิน 10 หน้า)
10.2.1 ความถูกต้องของแบบฟอร์ม ครอบคลุมหัวข้อที่สาคัญ แบ่งแต่ละหัวข้อออกอย่างชัดเจน ตามลาดับ ได้แก่ บทคัดย่อกิตติกรรมประกาศ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทนำ การตรวจเอกสาร วิธีการทดลอง ผลการทดลอง อภิปรายผล สรุปผล เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก)
หมายเหตุ: การเขียนรายงานในหัวข้อของ วิธีการทดลอง ผลการทดลอง อภิปรายผล และสรุปผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทดลองในแต่ละข้อ ตามลำดับ
10.2.2 การนาเสนอข้อมูล
1) รูป และกราฟ ให้จัดเป็น ภาพที่….
2) ตารางที่…..
10.2.3 การใช้ภาษา และคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ถูกต้อง ชัดเจน รัดกุม และสละสลวย
10.2.4 การอ้างอิง
1) วิธีอ้างอิงในเนื้อหา
1.1) รัฐพล ศรประเสริฐ (2554) รายงานว่า………..
1.2) …………………………………………………(รัฐพล ศรประเสริฐ, 2554)
1.3) อนงคณ์ หัมพานนท์ และรัฐพล ศรประเสริฐ (2552) รายงานว่า………..
1.4) …………………………………………………(อนงคณ์ หัมพานนท์ และรัฐพล ศรประเสริฐ, 2552)
1.5) อัสมา ลังประเสริฐ และคณะ (2554) รายงานว่า………..
1.6) …………………………………………………(อัสมา ลังประเสริฐ และคณะ, 2554)
2) การเขียนเอกสารอ้างอิง (เรียงตามพยัญชนะไทย ก-ฮ หรือ A-Z)
2.1) ประพันธ์ ภักดีกุล, อนงคณ์ หัมพานนท์, รัฐพล ศรประเสริฐ และวชิราภรณ์ พิกุลทอง. 2549. รูปแบบ และปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยศักยภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์ .กรุงเทพมหานคร. 186 หน้า.
2.2) รัฐพล ศรประเสริฐ. 2554. ถอดประสบการณ์ : เห็ดป่าและผลิตภัณฑ์จากเห็ดป่า ณ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิทยาศาสตร์ 21: 107-114.
2.3) อนงคณ์ หัมพานนท์ และรัฐพล ศรประเสริฐ. 2552. การสนองพระราชดาริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. จันทร์กระจ่างฟ้า 5(22): 5.
2.4) อัสมา ลังประเสริฐ, อนงคณ์ หัมพานนท์, รัฐพล ศรประเสริฐ, สยาม อรุณศรีมรกต, ทนงศักดิ์ จงอนุรักษ์ และพระมหานัธนิติ สุมโน. 2554. ความหลากหลายของพืชกาฝากและพรรณไม้อาศัย วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 7(13): 100-112.
10.2.5 อภิปรายผล และสรุปผล
1) อภิปรายผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทดลองในแต่ละข้อ ตามลำดับ อย่างมีเหตุผล และเปรียบเทียบผลที่ได้กับที่เคยมีผู้รายงานไว้ในการศึกษาคล้ายกัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน
2) สรุปผลทั้งหมดที่ได้ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทดลองในแต่ละข้อ ตามลำดับ
10.3 การจัดแสดงแผงโครงงาน
10.3.1 ความเหมาะสมในการใช้วัสดุและอุปกรณ์ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน วัสดุ กลไกต่าง ๆ ประกอบการแสดงโครงงานต้องเหมาะสมกับสถานที่จัดแสดง และเวลาแสดง
10.3.2 ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
1) ความแปลกใหม่ของการออกแบบ การนำเสนอข้อมูล และการใช้วัสดุในแผงแสดงโครงงานความสามารถในการจัดแสดงและสาธิตผลการทดลอง
2) การแสดงแนวความคิดโดยรวม กระชับ และดึงดูดความสนใจ
10.3.3 ความประณีตสวยงาม
ให้มีความสวยงาม ประณีต สะอาด ตัวหนังสือหรือสีที่ใช้ให้เหมาะสม การจัดวางโครงงานเหมาะสม สวยงาม ไม่เกินเนื้อที่ที่กาหนดให้
10.4 การนำเสนอด้วยวาจา
10.4.1 การนำเสนอ นำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการด้วย Powerpoint ในหัวข้อที่กาหนดตามลำดับ คือ ชื่อโครงงาน ชื่อ-สกุลของผู้ทำโครงงาน ชื่อ-สกุลของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน บทนำ การตรวจเอกสาร วิธีการทดลอง ผลการทดลอง อภิปรายผล สรุปผล และเอกสารอ้างอิง เท่านั้น ในช่วงเวลาการนาเสนอ ไม่เกิน 15 นาที
10.4.2 การตอบปัญหา อธิบาย และตอบข้อซักถามโดยแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ
หมายเหตุ: ศึกษารายละเอียดของข้อมูลได้ที่ www.chandra.ac.th/ , http://sci.chandra.ac.th หรือ โทร 0 2942 6900-99 ต่อ 5176
เผยแพร่ : http://www.contestwar.com
- เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น