^ Back to Top

ประกวดวงดนตรีลูกทุ่งแห่งประเทศไทย "ลูกทุ่งเมืองน้ำดํา" ครั้งที่ ๔

ประกวดวงดนตรีลูกทุ่งแห่งประเทศไทย "ลูกทุ่งเมืองน้ำดํา" ครั้งที่ ๔

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ร่วมกับ กรมพลศึกษา และสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอเชิญผู้สนใจอายุไม่เกิน ๒๐ ปี สมัครเข้าร่วมการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งแห่งประเทศไทย "ลูกทุ่งเมืองน้ำดํา" ครั้งที่ ๔ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า ๒๗๐,๐๐๐ บาท และถ้วยรางวัล

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการในระดับประเทศ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

คุณสมบัติ
เป็นวงดนตรีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทุกสังกัด ที่ผู้เล่นมีอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัคร และต้องมีจํานวนสมาชิกไม่ต่ำกว่า ๓๕ คน และ ไม่เกิน ๔๐ คน

หลักฐานการสมัคร

  • ใบสมัคร
  • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนผู้เข้าแข่งขันทุกคน

กติกาการประกวด

  • องค์ประกอบของวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าแข่งขัน ต้องประกอบด้วย
    • นักดนตรี
    • นักแสดงประกอบหรือหางเครื่อง
    • นักร้อง ไม่เกิน ๒ คน
    • พิธีกร
  • เพลงและการแสดงที่ใช้ในการแข่งขัน
    • การแสดงบทเพลงเทิดพระเกียรติฯ ๑ เพลง โดยเป็นแนวเพลงลูกทุ่งไทย หรือลูกทุ่งอีสาน ซึ่งเป็นเพลงที่มีอยู่แล้ว หรือจะเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ก็ได้ และจะต้องมีเนื้อหาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    • การแสดงเพลงลูกทุ่งไทย ๑ เพลง
    • การแสดงเพลงลูกทุ่งอีสาน ๑ เพลง
  • เครื่องดนตรี
    • เครื่องดนตรีบังคับ ทุกวงที่เข้าแข่งขันจะต้องมีเครื่องดนตรีโปงลาง อย่างน้อย ๑ ราง ร่วมบรรเลงด้วย
    • เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีที่จัดเตรียมไว้ให้บนเวทีประกวด
      • กลองชุดขนาดมาตรฐาน
      • ตู้แอมป์กีต้าร์ไฟฟ้า จํานวน ๒ ตู้
      • ตู้แอมป์กีต้าร์เบสไฟฟ้า จํานวน ๑ ตู้
      • ตู้แอมป์คีย์บอร์ด จํานวน ๑ ตู้
      • ไมโครโฟนสําหรับเครื่องเป่า จํานวน ๖ ตัว
      • ไมโครโฟนสําหรับนักร้องและพิธีกร จํานวน ๔ ตัว
      • ไมโครโฟนสําหรับเครื่องประกอบจังหวะและเครื่องดนตรีพิเศษ จํานวน ๔ ตัว
    • อนุญาตให้ใช้เครื่องดนตรีเล่นประกอบได้ทุกชนิด (เครื่องดนตรีไทย, เครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีพื้นบ้าน) และเครื่องช่วย (Effect) กีตาร์ได้ทุกชนิด
    • ห้ามใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือซาวด์เสียงใดๆ ที่บันทึกไว้แล้วในขณะบรรเลง เสียงทุกชนิด ที่เกิดขึ้นในการแข่งขันจะต้องเกิดจากการเล่น การร้อง (เล่นสด) ของสมาชิกในวงเท่านั้น
    • สําหรับกลองชุด ห้ามเปลี่ยนและเคลื่อนย้ายโดยเด็ดขาด (อนุญาตให้เปลี่ยนได้เฉพาะ กระเดื่องกลองและกลองสแนร์)
  • ขนาดเวทีที่ใช้ในการประกวด เวทีมี ๒ ระดับ
    • เวทีสําหรับนักแสดง กว้าง ๑๘ เมตร ลึก ๔.๘๐ เมตร ความสูง ๑ เมตร
    • เวทีสําหรับนักดนตรี กว้าง ๑๘ เมตร ลึก ๓.๖๐ เมตร ความสูง ๑.๓ เมตร
    • ทางขึ้นลงของนักแสดงมี ๒ ทาง บริเวณด้านซ้าย และด้านขวา
  • เวลาที่ใช้แข่งขัน การประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ให้ใช้เวลาในการแข่งขันไม่ต่ํากว่า ๒๕ นาที และ ไม่เกิน ๓๐ นาที (รวมการจัดอุปกรณ์ ต่างๆ บนเวที และทดสอบเสียง โดยจะเริ่มจับเวลาเมื่อพิธีกรประกาศชื่อวงผู้เข้าแข่งขันจบลง) หากเวลาเกินหรือต่ํากว่าระยะเวลาที่กําหนดคณะกรรมการตัดสินจะตัดคะแนน นาทีละ ๑ คะแนน จากคะแนนรวมทั้งหมด
  • การแต่งกาย ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องแต่งกาย ให้สอดคล้องและเหมาะสม
  • ผู้ควบคุมวงจํานวน ๑ คนสามารถไปแนะนําการมิกส์เสียงกับเจ้าหน้าที่เครื่องเสียงได้ เพื่อให้เข้ากับ การบรรเลงของวงผู้เข้าแข่งขัน
  • อนุญาตให้ผู้ขนย้ายอุปกรณ์ (Staff) ขึ้นจัดเตรียมอุปกรณ์บนเวทีได้ไม่เกิน ๔ คน และห้ามบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการแสดงและในระหว่างทําการแสดง โดยจะต้องมีป้ายแสดงตน staff ซึ่งผู้จัดการประกวดเตรียมไว้ให้
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทําให้เกิดประกายไฟและสัตว์ทุกชนิดในการแสดง

รอบการประกวด

  • รอบคัดเลือก
    คณะกรรมการจะพิจารณาจากใบสมัครและคลิปวีดีโอบันทึกการแสดงของวงที่ส่งเข้า ประกวด จํานวน ๒ เพลง โดยเลือกเพลงตามความถนัด แนวเพลงลูกทุ่งไทย ๑ เพลง และแนวเพลงลูกทุ่งอีสาน ๑ เพลง (เลือกเพลงเร็ว ๑ เพลง และเพลงช้า ๑ เพลง) รวมระยะเวลาไม่เกิน ๑๒ นาที ซึ่งจะคัดเลือกวงที่ผ่าน เข้ารอบจํานวน ๕ วง เพื่อทําการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
  • รอบชิงชนะเลิศ
    จะทําการแข่งขัน ในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ อาคารโดมกิจการนักศึกษาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อําเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

การสมัคร
สามารถส่งใบสมัครพร้อม CD หรือ Flash Drive (บรรจุไฟล์ MP๔) ที่บันทึกภาพการแสดงสด ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ถึง วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ในวันและเวลาราชการ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ที่งานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ หรือส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ งานส่งเสริมศิลปะ และวัฒนธรรม กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เลขที่ ๖๒/๑ ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตําบลกาฬสินธุ์ อําเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ ๔๖๐๐๐ โดยถือเอาวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสําคัญ ทั้งนี้สามารถ ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.ksu.ac.th/th และ เพจเฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ Kalasin University
คณะกรรมการจะดําเนินการคัดเลือกวงดนตรีลูกทุ่งที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศและแจ้งผลการคัดเลือกให้กับวงดนตรีที่เข้าร่วมการแข่งขันรับทราบ ภายในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ โดยสามารถตรวจสอบผลการ คัดเลือก ได้ที่ www.ksu.ac.th/th และ เพจเฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ Kalasin University

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ จํานวน ๑ รางวัล
    • ถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    • พร้อมทุนการศึกษา เงินรางวัล ๙๐,๐๐๐ บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จํานวน ๑ รางวัล
    • ถ้วยรางวัล พร้อมทุนการศึกษา เงินรางวัล ๖๐,๐๐๐ บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จํานวน ๑ รางวัล
    • ถ้วยรางวัล พร้อมทุนการศึกษา เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท
  • รางวัลชมเชย จํานวน ๒ รางวัล
    • ถ้วยรางวัล พร้อมทุนการศึกษา เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท
  • รางวัลบทเพลงเทิดพระเกียรติยอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
  • รางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
  • รางวัลนักร้องหญิงยอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
  • รางวัลดนตรียอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
  • รางวัลหางเครื่องยอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
  • รางวัลบรรเลงโปงลางยอดเยี่ยม
    • ถ้วยรางวัล จํานวน ๑ รางวัล พร้อมทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท

ติดต่อสอบถาม

  • โทรศัพท์/ID LINE : o๙๓-๐๙๖๔๘๓๖
  • Facebook : ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ม.กาฬสินธุ์
มูลค่าเงินรางวัลรวม: 
270,000 Baht
File attachments: 
ค่าสมัคร: 
หมดเขต: 
15 ก.ค. 2024 08:30 to 02 ส.ค. 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.