ประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๖๗ "รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม"
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๖๗ "รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล และเกียรติบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง สร้างความสนใจและเกิดกระแส อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เปิดพื้นที่ในการสืบสานวัฒนธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน ยกระดับขีดความสามารถของดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย
ประเภทการประกวด แบ่งเป็น 4 ภาค ดังนี้
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้
เงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วมประกวด
- ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทุกภาคๆ ละ ๑ คณะ เท่านั้น
- คลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นการบันทึกการแสดงสด
- ผู้ประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ทั้งด้านเนื้อหา ภาพ เสียง คลิป ซอฟต์แวร์หรือ อื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา ในกรณีที่มี การละเมิดลิขสิทธิ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
- ในกรณีที่คณะกรรมการพบว่า ผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ปกปิดข้อเท็จจริง มีการแอบอ้าง หรือคัดลอกผลงานจากผู้อื่น คณะกรรมการสามารถตัดสิทธิ์ ผู้เข้ารอบหรือ ผู้ที่ได้รับรางวัลออกได้ทันที และผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับรางวัล ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งนี้ หากภายหลังพบว่าผู้ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น กรมส่งเสริมวัฒนธรรมสามารถเรียกคืนถ้วยรางวัลและเงินรางวัล
- ผู้สมัครเข้าประกวดทุกประเภทต้องจัดหาเครื่องดนตรีไปเอง
- ผลงานของผู้เข้าประกวดทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัล ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
หลักฐานการสมัคร
คณะนักแสดงและคณะนักดนตรี ที่มีความประสงค์จะสมัครเข้าร่วมประกวด ต้องยื่นใบสมัครตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกําหนด พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- ใบสมัคร
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ของผู้แสดงจริงและผู้แสดงสํารองพร้อมรับรองสําเน
- เอกสารแนะนําวง และรายละเอียดข้อมูลชุดการแสดง จํานวน ๗ ชุด
- วีดิทัศน์ตัวอย่างการสร้างสรรค์ชุดการแสดง ให้นําเสนอการแสดงเสมือนจริงตามที่แต่ละคณะ ได้ออกแบบไว้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกําหนด โดยการบันทึกวีดิทัศน์นั้นให้ใช้กล้องเพียงหนึ่งตัว และไม่อนุญาตให้มีการตัดต่อภาพและเสียง ความยาวคลิป ๘ - ๑๐ นาที โดยให้เป็นผลงานการแสดง ที่โดดเด่นและแสดงศักยภาพของคณะมากที่สุด ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้องปรากฏในวันที่ทําการประกวดรอบชิงชนะเลิศด้วย
กําหนดระยะเวลา
- เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
- กําหนดการประกวด
- รอบคัดเลือก คณะกรรมการจะพิจารณาจากวีดิทัศน์ โดยคัดเลือกจากรายละเอียด แนวความคิด องค์ประกอบการแสดง หรือโครงเรื่องการแสดง ซึ่งจะคัดเลือกคณะที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจํานวน ๕ คณะ เพื่อทําการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ
- รอบชิงชนะเลิศ คณะที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จะทําการประกวดในแต่ละภาค ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๖๗ ตามวัน และเวลาที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกําหนด โดยกําหนดสถานที่ จัดประกวด ดังนี้
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง ณ จังหวัดนนทบุรี
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดอุดรธานี
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ ณ จังหวัดสงขลา
หมายเหตุ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกําหนดการรับสมัครและการประกวดตามความเหมาะสม
- ประกาศผลการประกวด ดังนี้
- รอบคัดเลือก ภายในเดือนเมษายน ๒๕๖๗ ทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- รอบชิงชนะเลิศ และพิธีมอบรางวัล ในวันที่จัดประกวดรอบชิงชนะเลิศ
วิธีการสมัครประกวด
- ติดต่อขอรับรายละเอียดเกณฑ์การประกวดและใบสมัครได้ที่กลุ่มสืบสานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เลขที่ ๑๔ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๒๒๖, ๑๒๒๑ ในวันและเวลาราชการ หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.culture.go.th ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
- ในการสมัครเข้าร่วมประกวด สามารถยื่นเอกสารการสมัครด้วยตนเองหรือส่งเอกสาร การสมัครทางไปรษณีย์ กรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ จะถือวันที่ประทับตรา ณ ที่ทําการไปรษณีย์ต้นทางเป็นสําคัญ
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย ภาคละ ๒ รางวัล ได้รับเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๗ ๐๐๑๓ ต่อ ๑๒๒๖, ๑๒๒๑ ในวันและเวลาราชการ