ประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๖๖ "รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม"
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๖๖ "รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
วัตถุประสงค์
เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็นวิศิษฏศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ดนตรีและการแสดงพื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง สร้างความสนใจและเกิดกระแส อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เปิดพื้นที่ในการสืบสานวัฒนธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน ยกระดับขีดความสามารถของดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับศิลปวัฒนธรรมไทย
ประเภทการประกวด แบ่งเป็น ๔ ภาค ดังนี้
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การแสดงรวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้
คุณสมบัติ
- ผู้เข้าประกวดต้องมีสัญชาติไทย
- จํานวนผู้แสดง จํานวนไม่น้อยกว่า ๑๐ คน แต่ไม่เกิน ๓๐ คน โดยมีเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน ๒๕ ปี เข้าร่วมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนนักแสดงทั้งคณะ
หลักฐานการสมัคร
- คณะนักแสดงและคณะนักดนตรี ที่มีความประสงค์จะสมัครเข้าร่วมประกวด ต้องยื่นใบสมัครตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกําหนด พร้อมแนบเอกสารดังนี้
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ของผู้แสดงจริงและผู้แสดงสํารองพร้อมรับรองสําเนา
- เอกสารแนะนําวง และรายละเอียดชุดการแสดง จํานวน ๕ ชุด
- วีดิทัศน์ตัวอย่างการสร้างสรรค์ชุดการแสดง โดยไม่ต้องมีการตัดต่อคลิป ความยาวไม่เกิน ๕ นาที
เงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วมประกวด
- ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทุกภาคๆ ละ ๑ คณะ เท่านั้น
- คลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นการบันทึกการแสดงสด
- ผู้ประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ทั้งด้านเนื้อหา ภาพ เสียง คลิป ซอฟต์แวร์หรือ อื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา ในกรณีที่มีการ ละเมิดลิขสิทธิ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
- ในกรณีที่คณะกรรมการพบว่า ผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ปกปิด ข้อเท็จจริง มีการแอบอ้าง หรือคัดลอกผลงานจากผู้อื่น คณะกรรมการสามารถตัดสิทธิ์ ผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับ รางวัลออกได้ทันที และผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับรางวัล ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งนี้ หากภายหลังพบว่าผู้ได้รับรางวัลไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น กรมส่งเสริมวัฒนธรรมสามารถเรียกคืน
- ถ้วยรางวัลและเงินรางวัล
- ผลงานของผู้เข้าประกวดทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัล ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กําหนดการ
- เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖
- ประกาศผลการประกวด
- รอบคัดเลือก ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- รอบชิงชนะเลิศ และพิธีมอบรางวัล ในวันที่จัดประกวดรอบชิงชนะเลิศ ดังนี้
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคกลาง ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดร้อยเอ็ด
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดสงขลา
- รวมศิลป์พื้นบ้านภาคเหนือ ในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ จังหวัดเชียงใหม่
หมายเหตุ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกําหนดการประกวดตามความเหมาะสม
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๘๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้รับถ้วยรางวัลจากปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเงินรางวัล จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จํานวน ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย ภาคละ ๒ รางวัล ได้รับเงินรางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รางวัลละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
ติดต่อสอบถาม
กลุ่มสืบสานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
โทรศัพท์ ๐๒-๒๔๗ -๐๐๑๓ ต่อ ๑๒๑๒, ๑๒๒๒