ประกวดภาพถ่าย "วิทย์ติดเลนส์"
กองสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญเยาวชน และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดภาพถ่าย "วิทย์ติดเลนส์" ชิงราวัล พร้อมของที่ระลึก ระยะเวลาการส่งผลงานจะแตกต่างกันตามประเภทของการประกวด
ประเภทการประกวด
- ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม หัวข้อ "พลังแห่งธรรมชาติ"
- ประเภทภาพถ่ายยอดนิยม หัวข้อ "ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า"
ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม
หัวข้อการประกวด พลังแห่งธรรมชาติ
ระยะเวลาร่วมส่งภาพ วันนี้ ถึง 27 กันยายน 2557
ประเภทที่เปิด ภาพถ่ายยอดเยี่ยม
1. ความเป็นมา
ทุกวันนี้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายขึ้น มีการเดินทางที่สะดวกสบาย อาหารอุดมสมบูรณ์ ที่พักอาศัยมั่นคงแข็งแรงสวยงามกว่าอดีตมากมายนัก ท่ามกลางความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เดินหน้าไป
อย่างไม่ หยุดยั้ง อีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติที่ถูกเปลี่ยนไป มีความพยายามมากมายที่พิทักษ์รักษาธรรมชาติไว้เพราะตระหนักดีว่าเราคงอยู่ อย่างลำพังไม่ได้หากไร้ความสมดุลแห่งธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากพลังจากธรรมชาติ ดีบ้าง รุนแรงบ้าง บางครั้งก็กระทบกระเทือนความเป็นอยู่ปกติของเรา แต่สิ่งหนึ่งที่ธรรมชาติมีอย่างคงเส้นคงวาเสมอมาคือความเสมอภาค ธรรมชาติไม่เลือกความรวยความจน ไม่เลือกความสวยความหล่อ ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนและทุกสิ่งต่างได้รับการปฏิบัติจากธรรมชาติอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน
พลังจากธรรมชาติบันดาลให้เกิดสิ่งสวย งามมากมาย หินงอกหินย้อยบนผนังถ้ำอันงดงาม สายธารน้ำตกมหึมาที่โตรกผาสูงชัน เกาะแก่งแง่งหินที่น่ามหัศจรรย์ หรือเมฆหมอกแห่งพายุอันน่าพิศวง พลังจากธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เสมอเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สรรค์สร้างสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย ในขณะเดียวกัน พลังแห่งธรรมชาติก็อาจสร้างการทำลายล้างอย่างน่าสะพรึงกลัวได้ไม่ว่าจะเป็น น้ำป่าไหลหลาก ไฟป่าที่เผาผลาญป่าไม้และสรรพสัตว์ให้วอดวาย พายุร้ายที่พร้อมจะกวาดทุกอย่างที่ขวางหน้าในพริบตา แผ่นดินพิโรธที่สร้างความเสียหายกับเราอย่างไร้การพยากรณ์ หรือคลื่นยักษ์สึนามิที่พัดมาพร้อมหายนะอย่างมิอาจคะเนได้ การทำความรู้จักกับพลังแห่งธรรมชาติรอบตัวทำให้เราเข้าใจและจะช่วยให้เราเข้าถึงและอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความเคารพไปด้วยกัน ซึมซับความสวยงาม ความยิ่งใหญ่ สง่างาม อย่างมีความสุข
อพวช. ขอเชิญชวนทุกท่านออกไปร่วมค้นหา สัมผัส ซึมซับและทำความเข้าใจกับพลังแห่งธรรมชาติ พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่ายที่ท่านชื่นชอบแล้วค้นหาวิทยาศาสตร์จาก สิ่งที่ท่านบันทึกภาพ ส่งมาประกวดกับเราในโครงการ วิทย์ติดเลนส์ ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม รอบที่ 1 ในหัวข้อ “พลังแห่งธรรมชาติ” ความสวยงาม ความหมาย และการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ผ่านภาพถ่ายของท่านอาจโดนใจคณะกรรมการและได้รางวัล จาก อพวช.
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กองสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. หัวข้อการประกวด
ท่านสามารถติดตามรายละเอียดและภาพตัวอย่าง ของแต่ละหัวข้อได้ที่เว็บไซต์ www.nsm.or.th โดยคลิกเข้าไปที่แบนเนอร์ของโครงการ วิทย์ติดเลนส์
4. ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด
4.1 ประเภทเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี นับถึงวันที่ตัดสินผลงานในรอบนั้น ๆ
4.2 ประเภทประชาชนทั่วไป
5. ประเภทและขนาดของภาพถ่าย และระยะเวลาการประกวด
ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดโปรดส่งภาพถ่ายและคำบรรยาย ในหัวข้อที่กำหนด ซึ่งมีความละเอียดไม่เกิน 5
ล้าน เมกะพิกเซล โดยผู้ส่งผลงานสามารถส่งได้เพียงรอบละไม่เกิน 5 ภาพ ต่อหนึ่งประเภทผลงาน และสอดคล้องกับหัวข้อในแต่ละรอบ โดยแต่ละภาพส่งได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น โดยบันทึกภาพเป็นไฟล์ JPEG พร้อมกรอกใบสมัครในเว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ในส่วนของโครงการประกวดภาพถ่าย วิทย์ติดเลนส์ และระบุข้อมูลให้ชัดเจน ซึ่ง รวมถึงชื่อ-นามสกุลของผู้ถ่ายภาพ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก E-mail หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ถ่ายภาพ ชื่อภาพ และต้องมีคำบรรยายของแต่ละภาพไม่เกิน 150 คำ การบรรยายต้องมีความสอดคล้องกับภาพ และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ภาพที่ส่งไม่จำกัดอุปกรณ์และเทคนิคในการแต่งภาพ แต่ห้ามทำให้ภาพเสียความหมายอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจากแหล่งเดิม ห้ามใช้การตัดต่อภาพ สำหรับภาพที่ประสงค์ส่งเข้าประกวด สามารถส่งไฟล์ภาพและใบสมัครที่เว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ภายใต้หัวข้อการประกวดภาพถ่าย วิทย์ติดเลนส์ ภายในเวลาที่กำหนด
6. เงื่อนไข/ข้อกำหนดในการส่งภาพถ่ายเข้าประกวด
6.1 ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยแสดงต่อสาธารณชน และไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน
6.2 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเอง ห้ามนำผลงานของผู้อื่นมาส่งแทน และห้ามส่งผลงานในนามผู้อื่น หากตรวจพบจะตัดสิทธิ์รางวัลที่ได้รับและตัดสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าประกวดในครั้งต่อ ๆ ไป
6.3 ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผิดชอบ หากผลงานนั้นละเมิดสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น
6.4 ภาพถ่ายและภาพต้นฉบับ รวมทั้งคำบรรยายที่ส่งเข้าประกวด องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สามารถนำไปเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไปได้ โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จะแจ้งให้เจ้าของภาพทราบทุกครั้งที่นำไปใช้ ทั้งนี้ภาพทุกภาพยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพอยู่เช่นเดิม
6.5 ภาพที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดต้องมีความเหมาะสม ไม่ขัดกับศีลธรรม จรรยาบรรณ หรือละเมิดสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น หากผลงานนั้นละเมิดสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดต้องรับผิดชอบ
6.6 ขอสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้พนักงาน ลูกจ้าง และอาสาสมัคร ของ อพวช. ส่งผลงานเข้าประกวด
6.7 การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
6.8 หากผู้สมัครละเมิดกติกาข้อใดข้อหนึ่งและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบภายหลัง อพวช. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกรางวัลที่ได้รับ ภาพที่ได้รับรางวัลต้องส่งภาพต้นฉบับและชื่อ application ที่ใช้มาทาง email: scicomnsm@gmail.com เพื่อยืนยันการรับรางวัล
7. การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย และการประกาศผล
ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม ตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ อพวช. ความสวยงามของภาพ และความถูกต้องของเนื้อหา รวมถึงการบรรยายต้องมีความสอดคล้องกับภาพ และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ประกาศผลการตัดสินภาพถ่าย หัวข้อ พลังแห่งธรรมชาติ ในวันที่ 30 กันยายน 2557 ที่เว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ทั้งนี้ หากกำหนดการประกาศผลภาพถ่ายจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ผู้ส่งภาพเข้าประกวดที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรกต่อไป
8. รางวัลสำหรับการประกวด มีดังนี้
- ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม สำหรับเยาวชน
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- ประเภทภาพถ่ายยอดเยี่ยม สำหรับประชาชนทั่วไป
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
ประเภทภาพถ่ายยอดนิยม
หัวข้อการประกวด ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า
ระยะเวลาร่วมส่งภาพ วันนี้ ถึง 27 กรกฎาคม 2557
1. ความเป็นมา
มนุษย์ผูกพันกับท้องฟ้ามานับพันนับหมื่นปี ปรากฏการณ์มากมายบนท้องฟ้าได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวันอย่างแยกไม่ออก การปรากฏขึ้นของเหล่าดวงดาวบนท้องฟ้าหรือแม้กระทั่งมวลหมู่เมฆถูกใช้เป็น สัญลักษณ์แห่งการพยากรณ์ แม้ทุกวันนี้เราจะเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติได้มากขึ้น สามารถเดินทางบนท้องฟ้าหรือแม้แต่ออกไปนอกโลกได้แล้วก็ตาม แต่ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าก็ยังคงเสน่ห์ของมันอยู่อย่างน่าค้นหา การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของมวลเมฆที่ไม่เคยได้ซ้ำแบบเดิมเลยแม้แต่ วินาทีเดียว รุ้งกินน้ำหรือแม้แต่แสงสีสวยงามที่ทาทาบท้องฟ้ายามเย็น กระต่ายบนดวงจันทร์ การโคจรของกลุ่มดาวจักรราศี ไปจนถึงแสงสว่างจากฟากฝั่งอันไกลโพ้นของอวกาศ และอีกมากมายล้วนเป็นสิ่งที่น่าค้นหาและเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพียงแค่เราเงย หน้าขึ้นมองท้องฟ้า
อพวช. ขอเชิญชวนทุกท่านแหงนมองท้องฟ้าไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ถ่ายภาพที่ท่านชื่นชอบแล้วค้นหาวิทยาศาสตร์จากสิ่งที่ท่านบันทึกผ่านภาพถ่าย ส่งมาประกวดกับเราในโครงการ วิทย์ติดเลนส์ รอบที่ 1 ในหัวข้อ “ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า” ความสวยงาม ความหมาย และการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ผ่านภาพถ่ายของท่านอาจโดนใจ ได้รางวัลจาก อพวช.
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กองสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. หัวข้อการประกวด
ท่านสามารถติดตามรายละเอียดและภาพตัวอย่าง ของแต่ละหัวข้อได้ที่เว็บไซต์ www.nsm.or.th โดยคลิกเข้าไปที่แบนเนอร์ของโครงการ วิทย์ติดเลนส์
4. ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด
4.1 ประเภทเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี นับถึงวันที่ตัดสินผลงานในรอบนั้น ๆ
4.2 ประเภทประชาชนทั่วไป
5. ประเภทและขนาดของภาพถ่าย และระยะเวลาการประกวด
ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดโปรดส่งภาพถ่ายและคำบรรยาย ในหัวข้อที่กำหนด ซึ่งมีความละเอียดไม่เกิน 5
ล้าน เมกะพิกเซล โดยผู้ส่งผลงานสามารถส่งได้เพียงรอบละไม่เกิน 5 ภาพ ต่อหนึ่งประเภทผลงาน และสอดคล้องกับหัวข้อในแต่ละรอบ โดยแต่ละภาพส่งได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น โดยบันทึกภาพเป็นไฟล์ JPEG พร้อมกรอกใบสมัครในเว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ในส่วนของโครงการประกวดภาพถ่าย วิทย์ติดเลนส์ และระบุข้อมูลให้ชัดเจน ซึ่ง รวมถึงชื่อ-นามสกุลของผู้ถ่ายภาพ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก E-mail หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ถ่ายภาพ ชื่อภาพ และต้องมีคำบรรยายของแต่ละภาพไม่เกิน 150 คำ การบรรยายต้องมีความสอดคล้องกับภาพ และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ภาพที่ส่งไม่จำกัดอุปกรณ์และเทคนิคในการแต่งภาพ แต่ห้ามทำให้ภาพเสียความหมายอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจากแหล่งเดิม ห้ามใช้การตัดต่อภาพ
สำหรับภาพที่ประสงค์ส่งเข้าประกวด สามารถส่งไฟล์ภาพและใบสมัครที่เว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ภายใต้หัวข้อการประกวดภาพถ่าย วิทย์ติดเลนส์ ภายในเวลาที่กำหนด
6. เงื่อนไข/ข้อกำหนดในการส่งภาพถ่ายเข้าประกวด
6.1 ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยแสดงต่อสาธารณชน และไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน
6.2 ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเอง ห้ามนำผลงานของผู้อื่นมาส่งแทน และห้ามส่งผลงานในนามผู้อื่น หากตรวจพบจะตัดสิทธิ์รางวัลที่ได้รับและตัดสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าประกวดใน ครั้งต่อ ๆ ไป
6.3 ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผิดชอบ หากผลงานนั้นละเมิดสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น
6.4 ภาพถ่ายและภาพต้นฉบับ รวมทั้งคำบรรยายที่ส่งเข้าประกวด องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สามารถนำไปเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไปได้ โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จะแจ้งให้เจ้าของภาพทราบทุกครั้งที่นำไปใช้ ทั้งนี้ภาพทุกภาพยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของภาพอยู่เช่นเดิม
6.5 ภาพที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดต้องมีความเหมาะสม ไม่ขัดกับศีลธรรม จรรยาบรรณ หรือละเมิดสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น หากผลงานนั้นละเมิดสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดต้องรับผิดชอบ
6.6 ขอสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้พนักงาน ลูกจ้าง และอาสาสมัคร ของ อพวช. ส่งผลงานเข้าประกวด
6.7 การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
6.8 หากผู้สมัครละเมิดกติกาข้อใดข้อหนึ่งและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบภายหลัง อพวช. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกรางวัลที่ได้รับ ภาพที่ได้รับรางวัลต้องส่งภาพต้นฉบับและชื่อ application ที่ใช้มาทาง email: scicomnsm@gmail.com เพื่อยืนยันการรับรางวัล
7. การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย และการประกาศผล
ประเภทภาพถ่ายยอดนิยม ตัดสินจากคะแนนโหวตของผู้เข้าชมบน Facebook ของ อพวช. ความสวยงามของภาพ และความถูกต้องของเนื้อหา รวมถึงการบรรยายต้องมีความสอดคล้องกับภาพ และมีความเป็นวิทยาศาสตร์
ประกาศผลการตัดสินภาพถ่าย หัวข้อ ปรากฏการณ์บนฟากฟ้า ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ที่เว็บไซต์ อพวช. www.nsm.or.th ทั้งนี้ หากกำหนดการประกาศผลภาพถ่ายจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ผู้ส่งภาพเข้าประกวดที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรกต่อไป
8. รางวัลสำหรับการประกวด มีดังนี้
- ประเภทภาพถ่ายยอดนิยม สำหรับเยาวชน
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 800 บาท พร้อมของที่ระลึก
- ประเภทภาพถ่ายยอดนิยม สำหรับประชาชนทั่วไป
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมของที่ระลึก
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 800 บาท พร้อมของที่ระลึก
รายละเอียดเพิ่มเติม
- กองการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
- โทร. 02-577-9999 ต่อ 1473 และ 1475
- www.nsm.or.th
- Log in to post comments