^ Back to Top

การประกวดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ – SCG ประจาปี 2556

ตามที่สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ริเริ่มกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา และได้มีการจัดประกวดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ - SCG เป็นประจาทุกปี ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียน ครู/อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการประกวดกิจกรรมชุมนุมฯ มีดังนี้
1. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชนไทยศึกษาหาความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์
2. เพื่อปลูกฝังกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชน
3. เพื่อกระตุ้นและปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
4. เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการนาเสนอผลงานของตนและกลุ่มผู้ร่วมงานทั้งในรูปแบบของเอกสารรายงาน การจัดแสดงนิทรรศการและการนำเสนอด้วยวาจา
5. เพื่อเปิดโอกาสให้ครู นักเรียน และบุคคลทั่วไปที่สนใจกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกวดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ - SCG
1. การประกวดกิจกรรมชุมนุมฯ ระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)
ชุมนุมที่มีสิทธิส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีสมาชิกชุมนุมเป็นนักเรียนที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 - ม.3) ทั้งนี้ผู้แทนชุมนุมที่จะเสนอด้วยวาจาจะต้องเป็นสมาชิกของชุมนุมที่เข้าประกวด และอยู่ในช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3) ในปีการศึกษาปัจจุบัน
2. กำหนดการประกวดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ – SCG
• 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556 : หมดเขตการส่งใบสมัครและเอกสารรายงานกิจกรรมชุมนุมฯ 10 เล่ม ตามแบบฟอร์มแนบท้ายเพื่อการคัดเลือกเบื้องต้น (พิจารณาจากตราประทับไปรษณีย์)
• 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 : แจ้งผลการคัดเลือกเบื้องต้นทางเว็บไซต์ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.scisoc.or.th
• ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 :
- การจัดแสดงผลงานและนำเสนอผลงานของชุมนุมฯ ที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้น ณ ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
- ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล
3. หลักเกณฑ์การส่งกิจกรรมเข้าประกวด
แต่ละชุมนุมต้องทากิจกรรมตามหนังสือ “คู่มือกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2554” ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเลือกกิจกรรมเด่นเข้าประกวดโดยมีเกณฑ์การส่งเข้าประกวด ดังนี้
1) แต่ละโรงเรียนสามารถสมัครได้มากกว่า 1 ชุมนุม แต่ต้องไม่ซ้าชุมนุมกัน โดยจะต้องดาเนินการตามกาหนดเวลาและเกณฑ์การจัดทำนิทรรศการและเอกสารรายงานอย่างเคร่งครัด
2) ผู้แทนแต่ละชุมนุม ที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย นักเรียนที่เป็นสมาชิกในชุมนุมนั้นๆ 2 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน
3) อาจารย์ 1 ท่าน สามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุมได้มากกว่า 1 ชุมนุม
4) นักเรียนที่เป็นผู้แทนชุมนุมสามารถประกวดได้เพียง 1 ชุมนุม เท่านั้น และต้องกาลังศึกษาอยู่ไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษาปัจจุบัน
5) นักเรียนที่เป็นผู้แทนแต่ละชุมนุม ทั้ง 2 คน จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมเด่นที่นำเสนอ
6) โรงเรียนที่ประสงค์จะสมัครเข้าประกวดต้องส่งใบสมัครพร้อมรายงานจานวน 10 เล่ม (ดังรายละเอียดรูปแบบเอกสารรายงานกิจกรรมชุมนุมฯ ที่แนบ) ไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ
7) หมดเขตรับสมัคร วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยพิจารณาจากตราประทับไปรษณีย์
4. การคัดเลือก
การคัดเลือกชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ มีการดาเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกจากเอกสารรายงานที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 และตามรูปแบบเอกสารรายงานกิจกรรมชุมนุมฯ ดังเอกสารแนบ
ขั้นตอนที่ 2 ชุมนุมที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1 จะต้องนาผลงานมาจัดนิทรรศการและนาเสนอด้วยวาจา
ทั้งนี้ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด
5. การตัดสินและรางวัล
การตัดสินและรางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท
• ประเภทที่หนึ่ง การตัดสินจากคณะกรรมการ เป็นการตัดสินจากคณะกรรมการ เพื่อให้รางวัลชนะเลิศของแต่ละชุมนุมๆ ละ 1 รางวัล
• ประเภทที่สอง การตัดสินจากผู้เข้าประกวด เป็นการตัดสินจากนักเรียนที่เข้าประกวดโดยนักเรียนทุกคนที่เข้าประกวดเป็นผู้ให้คะแนนชุมนุมของโรงเรียนต่างๆ ยกเว้นชุมนุมที่มาจากโรงเรียนของตนเอง ผลจากคะแนนนิยมที่มากที่สุดในการจัดนิทรรศการจะได้รับรางวัลขวัญใจ ประเภทนิทรรศการ จานวน 1 รางวัล
หมายเหตุ
• จานวนรางวัลและประเภทรางวัล ในข้อ 5 อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการ และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด
• โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมประกวดจะได้รับเกียรติบัตร
6. งบประมาณ
1. SCG สนับสนุนเงินรางวัล โล่ และ เกียรติบัตร
2. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ สนับสนุนการดำเนินงานจัดประกวดกิจกรรมฯ
เกณฑ์การให้คะแนน
คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสินโดยพิจารณาจากเกณฑ์
1) เอกสารรายงาน 40 คะแนน
2) นิทรรศการ 30 คะแนน
3) การนาเสนอด้วยวาจา 30 คะแนน
รวม 100 คะแนน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) เอกสารรายงาน 40 คะแนน ให้จัดทาเอกสารรายงานตามรูปแบบเอกสารรายงานกิจกรรมชุมนุมฯที่แนบ การให้คะแนนจะพิจารณาความถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำาหนด ความถูกต้องทางวิชาการ การใช้ภาษา การสื่อความหมาย รูปแบบและการนำเสนอที่น่าสนใจและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากกิจกรรมที่หลากหลาย
2) นิทรรศการ 30 คะแนน โดยพิจารณาจาก
- ความถูกต้องตามเกณฑ์ขนาดของแผงจัดแสดงนิทรรศการเมื่อกางออกวางแล้ว แผงจะต้องมีขนาดความกว้าง 120 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร (รวมชื่อโรงเรียน ชื่อชุมนุม และอื่นๆ) วางบนโต๊ะลึกไม่เกิน 60 เซนติเมตร (ดังรูป) หากมีอุปกรณ์ที่จาเป็นต้องตั้งแสดงที่พื้น ให้ยื่นออกมาจากขอบโต๊ะแสดงได้ไม่เกิน 60 เซนติเมตร
- วิธีการนาเสนอที่น่าสนใจและถูกต้องทางวิชาการ รวมทั้งการตอบข้อซักถาม
- เนื้อหาของนิทรรศการควรแสดงทั้งกิจกรรมเด่นและกิจกรรมอื่นในภาพรวมโดยกิจกรรมเด่นควรแสดงถึงผลงานที่ทาให้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ อาจแสดงในรูปแบบนิทรรศการหรือแฟ้มสะสมงาน
อนึ่ง การอยู่ประจาสถานที่จัดแสดงนิทรรศการชุมนุมของตนเองจะมีผลต่อการพิจารณาคะแนนของคณะกรรมการ ยกเว้นในวันที่กำหนดให้มีการนาเสนอด้วยวาจา
3) การนำเสนอด้วยวาจา 30 คะแนน ให้นาเสนอเฉพาะกิจกรรมเด่น ชุมนุมละไม่เกิน 10 นาที และตอบข้อซักถามอีก 5 นาที ทั้งนี้ทางสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ จะจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ และ LCD ไว้ให้ และถ้าต้องใช้อุปกรณ์โสตอื่นให้จัดเตรียมไปเอง แต่ต้องไม่เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ที่จัดไว้ให้และไม่รบกวนผู้อื่นขณะติดตั้ง การให้คะแนนจะพิจารณาจากความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ การนาเสนอและตอบคาถามที่แสดงถึงความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำ
การนำเสนอด้วยวาจาจะจัดในลักษณะการสัมมนาวิชาการที่มีการซักถามจากนักเรียนที่เข้าประกวดด้วย เพื่อเป็นการฝึกการซักถามอย่างสร้างสรรค์
ในการนำเสนอ อาจจะให้นักเรียนเพียง 1 คน เป็นผู้นาเสนอก็ได้เพื่อความกระชับ โดยมีนักเรียนอีก 1 คน เป็นผู้ช่วย ทั้งนี้สุดแต่ชุมนุมจะเห็นสมควร ส่วนในเรื่องการตอบคำถามนักเรียนทั้งสองต้องสามารถตอบได้ทั้งคู่
สำหรับโรงเรียนที่ยังไม่มีการจัดตั้งชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ และสนใจจะจัดตั้ง ขอให้ส่งชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขโทรสารในการติดต่อเพื่อเป็นฐานข้อมูล ไปยัง
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02-2185245, 02- 2524516 โทรสาร 02-2524516
E-mail : scisoc.thailand@gmail.com

เผยแพร่ : http://www.contestwar.com

File attachments: 
Deadline: 
16 Jun 2013 10:00 to 28 Jun 2013 16:00

Members Online

There are currently 0 users online.