^ Back to Top

ประกวดนวัตกรรมอินเตอร์เนตเพื่อสรรพสิ่งสําหรับอุตสาหกรรมเกษตร "loT Innovation for Agro-industry Competition"

ประกวดนวัตกรรมอินเตอร์เนตเพื่อสรรพสิ่งสําหรับอุตสาหกรรมเกษตร "loT Innovation for Agro-industry Competition"

คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สมัครเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมอินเตอร์เนตเพื่อสรรพสิ่งสําหรับอุตสาหกรรมเกษตร "loT Innovation for Agro-industry Competition" ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางรางวัล เกียรติบัตร และเปิดโอกาสสู่การส่งเสริมเพื่อการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนาสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์

ที่มา
การประกวดนวัตกรรมอินเตอร์เนตเพื่อสรรพสิ่งสําหรับอุตสาหกรรมเกษตร (IoT Innovation for Agro-industry Competition) จัดขึ้นโดยคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องในโอกาสสัปดาห์วัน วิทยาศาสตร์ วาระครบรอบ 40 ปี คณะเทคโนโลยี และครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปิดโอกาส ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการรังสรรค์นวัตกรรมเพื่อการ แก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร

คุณสมบัติผู้สมัคร
ประเภททีม นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จํานวนไม่เกิน 4 คน และ ครูที่ปรึกษาจํานวนไม่เกิน 2 ท่าน โดย แต่ละโรงเรียนสามารถสมัครได้มากกว่า 1 ทีม

ผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ผลงานนวัตกรรม IoT คือ ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบ IoT ที่ สร้างขึ้นโดยทีมผู้ส่งเข้าประกวด และไม่เคยได้รับรางวัลจากแหล่งใดมาก่อน สามารถเป็นนวัตกรรมในรูปแบบ ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งประดิษฐ์ ซอฟแวร์ เซนเซอร์ หรือผสมผสาน โดยเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนา หรือแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมเกษตร

  • Concept note คือ แนวคิดการพัฒนาผลงานนวัตกรรม IoT โดยการประกวดครั้งนี้ ในรอบคัดเลือก ผู้สมัครต้องส่ง Concept note 1 หน้า กระดาษ A4 ไม่จํากัดรูปแบบการสร้างสรรค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังอธิบายในหัวข้อ เกณฑ์การให้คะแนน
  • Prototype คือ นวัตกรรมต้นแบบ ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการพัฒนาผลงานนวัตกรรม IoT โดย ในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ทีมผู้ผ่านการคัดเลือก 5 ทีมสุดท้าย จะต้องนํา Prototype มานําเสนอและ ทดสอบประสิทธิภาพ Prototype ผ่านการ pitching

การรับสมัครและการส่งผลงาน
การแข่งขันประกอบด้วย 2 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ

  • รอบคัดเลือก
    • ส่งใบสมัคร พร้อม concept note ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 – 9 สิงหาคม 2567
    • ประกาศผล 5 ทีมสุดท้าย ในวันที่ 12 สิงหาคม 2567 เพื่อนําเสนอในรอบชิงชนะเลิศ
  • รอบชิงชนะเลิศ
    • วันที่ 18 สิงหาคม 2567 เวลา 9:00-12:00 น. ณ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก นําเสนอผลงานผ่านการ Pitching พร้อมนําเสนอ Prototype ไม่เกิน 10 นาที พร้อมตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ 10 นาที ประกาศผลและมอบรางวัลในวันที่ 18 สิงหาคม 2567

รางัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลเกียรติคุณ (3 รางวัล) เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

การต่อยอดนวัตกรรมสู่การจดสิทธิบัตรและการต่อยอดเชิงพาณิชย์
ผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ลิขสิทธิ์ของผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใดๆ เป็นของผู้ ประดิษฐ์เอง โดยคณะเทคโนโลยีจะดําเนินการสนับสนุนการแนวทางการขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ทางปัญญาและ การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ภายใต้ความสมัครใจของผู้ประดิษฐ์เอง

ติดต่อสอบถาม

  • คุณกนกอร นีระ (นักวิเทศสัมพันธ์) คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โทร 043-202-094 (วัน-เวลา ราชการ)
  • อีเมล kanokne@kku.ac.th
  • www.facebook.com/TechnologyKKU
File attachments: 
Deadline: 
30 Jul 2024 08:30 to 09 Aug 2024 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.