^ Back to Top

ประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP TEENERGY: Young Ocean for Life Innovation Challenge

ประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP TEENERGY: Young Ocean for Life Innovation Challenge

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ชวนเยาวชน นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ถึงระดับปริญญาตรี เข้าร่วมโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 7 โดยส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล PTTEP TEENERGY: Young Ocean for Life Innovation Challenge ภายใต้กลยุทธ์ “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) ซึ่งเป็นแผนงานระยะยาว 10 ปี (ปี 2563 – 2573) ของ ปตท.สผ. เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทย และเพิ่มรายได้แก่ชุมชน ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 540,000 บาท

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
  2. มีสถานภาพเป็นนิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ถึงระดับปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย (โดยสมาชิกในทีมไม่จำเป็นต้องศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาแห่งเดียวกัน)

ขั้นตอนการส่งผลงานเข้าประกวด

  1. สามารถสมัครได้ที่ Facebook Fanpage : PTTEP Teenergy
  2. สมัครเป็นทีม ทีมละไม่ต่ำกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาได้ทีมละไม่เกิน 2 คน
  3. เลือกส่งผลงานนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้ (เลือกเพียง 1 หัวข้อ และส่งผลงานได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น)
    • PROTECT คือ การปกป้องท้องทะเล ด้วยการบริหารจัดการขยะทะเล เพื่อป้องกัน มลภาวะจากบนบกลงสู่ทะเล (ตัวอย่างผลงานนวัตกรรม เช่น ทุ่นดักขยะ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์จากขยะพลาสติก เป็นต้น)
    • PRESERVE คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการปลูกป่าชายเลน การพัฒนาศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก และการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา (ตัวอย่างผลงานนวัตกรรม เช่น การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับในการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลน หรือการสำรวจสัตว์ทะเลหายาก, กระชังปลาอัจฉริยะ วิเคราะห์ผลผ่านเซนเซอร์ ติดตามผลผ่าน Smartphone, อวัยวะเทียมสำหรับสัตว์ทะเล, ซั้งเทียมหรือบ้านปลาจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น)
    • PROVIDE คือ การสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (ตัวอย่างผลงานนวัตกรรม เช่น เครื่องถนอมอาหารทะเล, เครื่องแปรรูปอาหารทะเล, Application จำหน่ายสินค้าอาหารทะเล เป็นต้น)
  4. กรอกแบบฟอร์มรับสมัครให้ครบถ้วน พร้อมทั้งส่งผลงานในรูปแบบ Google Forms ที่กำหนดไว้เท่านั้น
  5. ส่งสำเนาบัตรประจำตัวนิสิต นักศึกษา ที่ออกโดยสถาบันการศึกษาที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดกำลังศึกษาอยู่
  6. จัดทำโครงร่างผลงาน (Proposal) โดยอัปโหลดไฟล์ในรูปแบบ .pdf ความยาวไม่เกิน 5 หน้าขนาด A4 ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB เท่านั้น
  7. ชนิดและขนาดตัวอักษร ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 pt. การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษขนาด A4 (21 x 29.7 เซนติเมตร) และพิมพ์โดยมีระยะห่างจาก ขอบกระดาษด้านซ้าย 2.5 เซนติเมตร, ด้านขวา 2.5 เซนติเมตร, ด้านบน 2.5 เซนติเมตร และด้านล่าง 2.5 เซนติเมตร
  8. ส่งรูปภาพประกอบผลงานนวัตกรรมโดยอัปโหลดไฟล์ในรูปแบบ .jpeg ไม่เกิน 5 รูป ขนาดไฟล์รวม ไม่เกิน 10 MB เท่านั้น
  9. ส่ง VDO Clip การนำเสนอผลงานความยาวไม่เกิน 5 นาที โดยอัปโหลด VDO Clip ลงบน YouTube และคัดลอก Link VDO จาก YouTube ลงในแบบฟอร์มรับสมัคร

หัวข้อในโครงร่างผลงาน (Proposal)

  1. ที่มาและแนวคิดของผลงานนวัตกรรม (แรงจูงใจ แรงบันดาลใจหรือแนวคิดในการสร้างสรรค์)
  2. วัตถุประสงค์ (จัดทำโครงการเพื่อประโยชน์ หรือใช้แก้ไขปัญหาอะไร และสามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างไร)
  3. วิธีการดำเนินงาน (อธิบายถึงขั้นตอน และวิธีการดำเนินโครงการ)
  4. การนำไปใช้ประโยชน์ (อธิบายการนำแนวคิดนี้ไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด ใช้ได้อย่างแพร่หลายในหน่วยงานอื่นได้ด้วยหรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะในวงจำกัด บางหน่วยงานเท่านั้น)
  5. แบบร่างโมเดลผลงานพร้อมลงสี โดยสามารถใช้การวาดด้วยมือ หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ พร้อมอธิบายการใช้งานอย่างครบถ้วน
  6. งบประมาณในการผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด (ประมาณการงบประมาณในการผลิตผลงานต่อชิ้น)
  7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (คาดว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะสร้างประโยชน์อย่างไรบ้าง นำเสนอความคุ้มค่าของงบประมาณ ที่ใช้ เทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ)

กำหนดการการรับสมัคร และการประกวด

  1. สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน – วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ขยายเวลาถึง 15 พฤศจิกายน 2564
  2. ประกาศผลรอบคัดเลือก 15 ทีม (3 หัวข้อ ๆ ละ 5 ทีม) วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564
  3. ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม เข้าร่วมการฝึกอบรม (Workshop) วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 (ทุกทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอบรมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในทีม)
  4. ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม ส่งผลงานรอบตัดสิน วันที่ 18 - 30 พฤศจิกายน 2564 ภายในเวลา 18.00 น.
  5. ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 15 ทีม นำเสนอผลงานในรอบตัดสินและร่วมพิธีมอบรางวัล วันที่ 15 ธันวาคม 2564

*หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม และการจัดกิจกรรมอาจจัดขึ้นในรูปแบบ Onsite และ / หรือ Online โดยจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 15 ทีม เพื่อยืนยันนัดหมายวัน - เวลา สถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรม Workshop รวมถึงกิจกรรมตัดสินและมอบรางวัล

เกณฑ์การให้คะแนน (100 คะแนน)

  1. Innovativeness (40/100)
    • ความคิดสร้างสรรค์
    • ความแปลกใหม่ ยังไม่เคยมีคนทำมาก่อน หรือต่อยอดได้อย่างน่าสนใจ โดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
  2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (30/100)
    • ความพยายาม / ความท้าทาย / ความซับซ้อนของโครงการ ในการนำความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาสู่การปฏิบัติ
    • แสดงการวิเคราะห์ปัญหา / ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลในทุกรูปแบบที่ชัดเจน
    • ส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  3. Implementation Possibility (30/100)
    • มีองค์ประกอบของทรัพยากรที่เอื้อต่อความสำเร็จ / ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สามารถใช้งานได้จริง ระยะการพัฒนารวมถึงความพร้อมในการผลิตนวัตกรรมและนำมาใช้ได้ทันที
    • ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ / ใช้งานได้โดยง่าย ปลอดภัย และสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ
    • โอกาสในการเป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
    • มีแผนการทำงาน/แผนการจัดการที่แสดงถึงความยั่งยืนของนวัตกรรม
    • ความคุ้มค่า : งบประมาณที่ใช้เทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

รางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัลทีมละ 100,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัลทีมละ 40,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในแต่ละหัวข้อการประกวด ได้รับเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
  • ทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 15 ทีม ได้รับประกาศนียบัตรทั้งหมด

รางวัลพิเศษ

  • ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละหัวข้อการประกวด มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อรับเงินรางวัลพิเศษ รางวัลละ 30,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานต่อไป ทั้งนี้การตัดสินขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันของ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการ โดย ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการมอบรางวัลให้แก่ทีมที่พิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้น
  • ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ต้องจัดทำข้อเสนอ โครงการ (Proposal) ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาคัดเลือก
  • ผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ต้องดำเนินการตามข้อเสนอโครงการ (Proposal) ภายใน 14 วัน นับแต่ได้รับเงินรางวัลพิเศษ
  • หากผู้ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ไม่ประสงค์ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าว ต้องแจ้งสละสิทธิ์พร้อมระบุเหตุผลให้ผู้ประสานงานโครงการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 5 วัน นับจากวันประกาศผล
  • ในกรณีที่มีการสละสิทธิ์รับเงินรางวัลพิเศษข้างต้น ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการ อาจพิจารณามอบเงินรางวัลพิเศษแก่ทีมที่ได้อันดับรองลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ตามที่ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการเห็นสมควร
  • คำชี้ขาดหรือคำตัดสินของ ปตท.สผ. และคณะกรรมการโครงการในทุกกรณี ถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง มิได้

การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้เข้าประกวด
หากมีการเปลี่ยนแปลง / แก้ไขรายชื่อผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ต้องแจ้งขอเปลี่ยนรายชื่อ พร้อมเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร มายังผู้ประสานงานโครงการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย เพื่อให้ทางคณะกรรมการโครงการ พิจารณาต่อไป (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังระยะเวลาดังกล่าวถือว่าผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสละสิทธิ์เข้าร่วมการประกวด)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • นัดดาวัลย์ ระวีคำ โทร. 099-124-1615 / 061-551-9910
  • E-mail: pttep.ocean.innovation@gmail.com
  • Facebook Fanpage: PTTEP Teenergy
Total Prize Money: 
540,000 Baht
File attachments: 
Deadline: 
15 Sep 2021 00:00 to 15 Nov 2021 16:30

Members Online

There are currently 0 users online.