^ Back to Top

บรรยาย หัวข้อ "Siren and Scenery"

บรรยาย หัวข้อ "Siren and Scenery"

บรรยาย หัวข้อ "Siren and Scenery" โดย สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา และ ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ ในวันเสาร์ ที่ 16 กันยายน 2560 เวลา 14.30 – 16.30 น. ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ขอเชิญฟังการบรรยายในหัวข้อ: Siren and Scenery 
โดย สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา และ ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ 
วันเสาร์ ที่ 16 กันยายน 2560 เวลา 14.30 – 16.30 น.
ณ ห้องไอยรา (บริเวณตรงข้ามหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)
การบรรยายครั้งนี้จะดำเนินรายการเป็นภาษาไทยเท่านั้น
(The program will be conducted in Thai only)

การบรรยายเกี่ยวกับผลงานศิลปะและความสนใจใน “เสียงสัญญาณ” และ “ภาพของพื้นที่” ของ สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา โดยเธอได้คัดสรรผลงานที่มีที่มาของทั้งสององค์ประกอบ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในรูปแบบผลงาน วิดิโอ (Video) ศิลปะติดตั้ง (Installation) และ ศิลปะรูปแบบอื่นๆ ที่มีสัญญาณบางอย่างให้ผู้ชมขบคิดต่อ หรือ ตั้งคำถามต่อสารนั้นๆ ผลงานของเธอกล่าวถึงสถานการณ์ที่ได้เผชิญ โดยสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมและการเมือง การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และภูมิศาสตร์ ไปจนถึงใช้ความเป็นปัจเจกบุคคล, ประสบการณ์ตรง และการศึกษาวิจัย ในการแปลความหมายของสารที่ได้รับ

ผลงาน “ไฟเคลื่อนดิน” หรือ When Need Moves the Earth ในนิทรรศการ Soil and Stones, Souls and Songs นี้ เป็นงานศิลปะที่มีโอกาสได้เข้าถึงภาพของพื้นที่เฉพาะของโรงงานไฟฟ้า มันเป็นทั้งพื้นที่ห่างไกลจากเมืองและถูกจำกัดการเข้าถึง มันยังเป็นทั้งที่มาของภยันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของท้องถิ่นนั้นๆ และความสะดวกสบายของผู้คนที่ใช้กระแสไฟฟ้าในเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตามผลงานชิ้นนี้เป็นเพียงหนึ่งในงานผลงานอีกหลายๆชิ้นของศิลปิน การบรรยายนี้จะทำให้ผู้ชมเห็นภาพใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกันของการทำงานของเธอมากขึ้นตั้งแต่การเกิดแรงบันดาลใจ การก่อตัวของความคิดและขบวนการทำงานของแต่ละโครงการที่ส่งต่อกัน

โดยหลังจากการบรรยาย จะมีบทสนทนาระหว่าง สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา และ ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ เพื่อสะท้อนในหลายๆแง่มุมเกี่ยวกับวิธีคิดและการทำงานของผลงานเหล่านั้น ตามด้วยการเปิดให้ผู้ร่วมฟังการเสวนา

ถาม-ตอบในตอนท้าย

ทั้งนี้กิจกรรมการศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ Soil and Stones, Souls and Songs ที่จัดขึ้นโดยหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน คาดิสต์ และพารา ไซต์ สนับสนุนโดย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย  ซึ่งเป็นนิทรรศการสัญจรสำคัญชุดใหม่ คัดสรรขึ้นบนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ของความตึงเครียด และเรื่องเล่าที่พบเห็นได้จากความเป็นจริงในปัจจุบัน จากการผลิตเชิงศิลปะวัฒนธรรม และจากแนวคิดร่วมสมัยในเขตเอเชีย และพื้นที่อื่นๆ โดย ภัณฑารักษ์ คอสมิน คอสตินาส และอินทิ เกเรโร่

เกี่ยวกับศิลปิน
สุทธิรัตน์ ศุภปริญญาปัจจุบันอาศัยและทํางานที่จังหวัดเชียงใหม่ จบปริญญาตรีจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเคยทํางานเป็นอาจารย์ประจําที่นั่น ได้รับการศึกษาระดับ Meisterschulerinด้านสื่อศิลปะจาก HochschuleFuerGrafik und Buchkunstเมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี เธอสร้างผลงานทัศนศิลป์ที่หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ศิลปะติดตั้ง (Installation) รวมทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทั้งได้แสดงผลงานสู่สาธารณะในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในปี 2554 – 2555 เธอเคยร่วม Imaging Mekong Fellowship ซึ่งเป็นโครงการฝึกฝนและร่วมมือกันของนักข่าวในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2548 และ Asian Cultural Council Fellowship โดยทำงานที่ ISCP นิวยอร์คในปี 2554 เป็นศิลปินในพํานัก ในโครงการ International Creator Residency Program ที่ Tokyo Winder Site อาโอยาม่าในปี 2555, Foundation KünstlerdorfSchöppingen,เยอรมันนีในปี 2556 และ Wellington Asia Residency Exchange ประเทศนิวซีแลนด์

ในฐานะศิลปินทัศนศิลป์ทำงานท่ามกล่างชุมชนศิลปะในเชียงใหม่ เธอได้ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ CAC- Chiangmai Art Conversation ตั้งแต่ ค.ศ. 2556 CAC ได้เป็นร่วมกับ เจแปนฟาวน์เดชั่นกรุงเทพฯและเจแปนฟาวน์เดชั่นเอเชียเซ็นเตอร์โตเกียว ดำเนินโครงการ Asia Culture Station (ACS) ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเธอได้เป็นผู้อำนวยการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

หอศิลป์และแกเลอรี่ที่เธอเคยแสดงผลงาน คือ Hiroshima City Museum of Contemporary Art และ Tokyo Metropolitan Museum of Photography, ประเทศญี่ปุ่น, Jim Thompson Art Center และ Gallery Ver, ประเทศไทย, Queensland Art Gallery และ Sherman Contemporary Art Foundation, ประเทศออสเตรเลีย, the Solomon R. Guggenheim Museum, USA, Singapore Art Museum และ ArtScience Museum, ประเทศสิงคโปร์, Kuandu Museum of Fine Arts, ประเทศไต้หวัน, Hong Kong Arts Centre, Hong Kong และ Centre for Contemporary Art Ujazdowski Castle, ประเทศโปแลนด์.  ในปีนี้ ผลงานของเธอร่วมแสดงในนิทรรศการกลุ่มที่ SUNSHOWER ณ Mori Art Museum และ Fukuoka Art Museum, ประเทศญี่ปุ่นสามารถติดตามผลงานของเธอได้ที่ atelierorange.info

เกี่ยวกับผู้เข้าร่วมสนทนา
ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์เกิดปี 2526 เป็นภัณฑารักษ์อิสระและนักวิจัยอิสระ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่กรุงเทพและเชียงใหม่ เขาทำงานส่วนใหญ่ในหัวข้อภาพเคลื่อนไหวของศิลปิน ภาพยนตร์ทดลอง และศิลปะสื่อ โดยมีประสบการณ์การทำงานแบบข้ามสาขาระหว่างกระบวนการคัดสรรงานและการสร้างภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ ปฐมพงศ์ เคยเป็นผู้วางโปรแกรม/ภัณฑารักษ์ให้แก่งานเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ เทศกาลหนังทดลองกรุงเทพ และสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ เขาขยายขอบเขตทักษะในการคัดสรรงานจากบริบทเทศกาลภาพยนตร์ไปยังศิลปะร่วมสมัย ผ่านการเป็นผู้ควบคุมงานสร้างให้กับงาน “Golden Teardrop” งานวิดีโอจัดวางของอริญชย์ รุ่งแจ้ง และการเป็นผู้ช่วยภัณฑารักษ์ในงาน “Poperomia / Golden Teardrop” โดยวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ และอริญชย์ รุ่งแจ้ง  ซึ่งผลงานชิ้นนี้เคยจัดแสดงที่ศาลาไทยในเทศกาลมหกรรมศิลปะเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 55 ในปี 2556 ที่อิตาลี เขายังควบคุมงานสร้างและดูแลการจัดจำหน่ายงานภาพเคลื่อนไหวของศิลปินไทยผู้มีชื่อเสียงหลายคน  ปฐมพงศ์ จบการศึกษาปริญญาโทเกียรตินิยมด้านการคัดสรรภาพยนตร​จากเบอร์เบ็ค ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ลอนดอน เขาสนใจศึกษาเรื่องการปรากฏขึ้นของ ปรากฏการณ์ของวัฒนธรรมวัตถุ (Material culture) เทคโนโลยี และการรับรู้ และอิทธิพลที่สิ่งเหล่านี้มีต่อการสร้างภาพและมหรสพที่สัมพันธ์กับงานความรู้ทางภัณฑารักษ์ ปัจจุบัน ปฐมพงศ์ กำลังก่อตั้งกลุ่ม “Laten Image” กลุ่มผู้สนใจงานภาพเคลื่อนไหวที่ตั้งใจจะเป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อระหว่างโลกภัณฑารักษ์กับโลกวิชาการเข้าด้วยกัน

สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
โทรศัพท์: 02.612.6741
อีเมล: artcenter@jimthompsonhouse.com
เฟซบุค: The Jim Thompson Art Center 
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ : หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน : The Jim Thompson House

Seminar date: 
16 Sep 2017 14:30 to 16:30
File attachments: 

Members Online

There are currently 0 users online.