ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ด้านฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ประจำปี 2553
การประกวด นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ด้านฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ประจำปี 2553 เปิดโอกาสสำหรับนักศึกษา ที่มีความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มุ่งหวังให้เกิดแนวความคิดสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้จริง และเกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
กำหนดการ
- 15 มกราคม 2553 เปิดรับสมัครโครงการที่เข้าร่วมแข่งขัน
- 31 มีนาคม 25523 ปิดรับสมัครโครงการที่เข้าร่วมแข่งขัน
- 9 เมษายน 2553 ประกาศผลผู้ผ่านรอบคัดเลือก 16 โครงการ
- 22 เมษายน 2553 ผู้ผ่านรอบคัดเลือก 16 โครงการ นำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ
- 23 เมษายน 2553 ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบ 8 โครงการ มอบเงินช่วยสนับสนุน สำหรับการนำเสนอโครงการในงานสัมนาทางวิชาการ DST-CON 2010
- 26 - 28 พฤษภาคม 2553 โครงการที่ได้รับการคัดเลือก 8 โครงการนำเสนอ และอธิบายผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ แผ่นพับหรือทำแบบจำลองจากนผลงานตนเอง
มอบรางวัลและเกียรติบัตร สำหรับผู้ที่ชนะเลิศการประกวด รองอันดับ 1 และ 2 ในงานสัมนาทางวิชาการ DST-CON 2010
รางวัลการแข่งขัน
- รางวัลชนะเลิศ 20,000 บาท (พร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร)
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 15,000 บาท (พร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร)
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 10,000 บาท (พร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร)
- เงินสนับสนุนทีมที่เข้ารอบ 8 ทีม ทีมละ 5,000 บาท (พร้อมกียรติบัตร)
(แก้ไขวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 เพิ่มเงินรางวัล)
รายละเอียดกติกา
ผลงานที่เข้าร่วมประกวด จะต้องออกแบบนำฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟไปเป็นส่วนหนึ่งในผลงานสิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมฮาร์ดิสก์ไดร์ฟ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย” ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออบแบบ และวางผลงานบนกระดาษขนาด A2 จำนวน 2 แผ่น ในแนวตั้ง (ลักษณะเหมือนการนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์) ซี่งจะต้องประกอบด้วย
- ชื่อ แนวคิด สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม
- ที่มา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์
- แบบร่าง รูปภาพ
- ประโยชน์ของ แนวคิด สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผู้สมัครเข้าประกวดต้องศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากทั่วประเทศ
- ผู้ สมัครสามารถลงสมัครได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือแบบทีม โดยแบบทีมกำหนดให้มีบุคคลร่วมทีมได้ไม่เกิน 3 คนต่อทีม โดยทั้งแบบเดี่ยวและทีมจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน 1ทีมส่งผลงานได้ 1 ผลงาน
- ส่งใบสมัครพร้อมแนบแผนเสนอโครงการกลับมาที่ คุณเอกลักษณ์ ศุภมณี E-mail: akekalak_s@fibo.kmutt.ac.th ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2553
ผู้ประสานงานโครงการ
นายเอกลักษณ์ ศุภมณี
ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านการผลิตขั้นสูงในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
สถาบันวิยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ 024709713, 024709720
โทรสาร 024709714
E-mail akekalak_s@fibo.kmutt.ac.th