^ Back to Top

ประกวดวงดนตรีไทย "พระอาทิตย์ชิงดวง" ปี 68

ประกวดวงดนตรีไทย "พระอาทิตย์ชิงดวง" ปี 68

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอเชิญนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมการประกวดวงดนตรีไทย "พระอาทิตย์ชิงดวง" ปี 68 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา และเกียรติบัตร

คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

วงดนตรีเข้าประกวด
วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์

เพลงที่ใช้ในการประกวด
เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง 2 ชั้น

บทร้องสําหรับการประกวด
บทร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง 2 ชั้น เนื้อร้องของพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน)

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกวด รวมทั้งสิ้น 15 คน
ซอด้วง 1 คัน

  • ซออู้ 1 คัน
  • จะเข้ 1 ตัว
  • ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
  • ระนาดเอก 1 ราง
  • ระนาดทุ้ม 1 ราง
  • ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
  • ฆ้องวงเล็ก 1 วง
  • กลองแขก 1 คู่
  • ฉิ่ง 1 คู่
  • กรับ 1 คู่
  • ฉาบเล็ก 1 คู่
  • โหม่ง 1 ใบ
  • ขับร้อง 1 คน

หมายเหตุ

  • ให้เลือกเครื่องดนตรีซออู้หรือขลุ่ยเพียงออในการว่าดอก
  • สามารถใช้กลองแขกและเปิงมางที่เตรียมมาด้วยตนเองได้ 3)สามารถใช้เปิงมางในการบรรเลงประกอบในช่วงที่เป็นทํานองภาษา
  • สถาบนัสามารถส่งวงดนตรีเขา้ร่วมการประกวดไดม้ากกว่า 1 วง โดยผู้เข้าประกวดจะต้องไม่ซ้ํากัน
  • สามารถนํานักเรียนต่างสถาบันในระดับมัธยมศกึษาหรือเทียบเท่าเข้าร่วมวงดนตรีโดยไม่จํากดัชนิด/ประเภทของการบรรเลง/ขับร้อง จํานวนไม่เกิน 1 คน

กำหนดระยะเวลา

  • นําส่งข้อมูลและไฟล์ใบสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 น. ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เวลา 18:00 น. โดยกําหนดให้นําส่งข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้กรณีไม่สามารถเปิดไฟล์ได้หรือไฟล์ที่นําส่งไม่สมบูรณ์ถือว่าสละสิทธิ์การเข้าประกวด
  • ประกาศผลรอบคัดเลือกภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ทาง Page Facebook: ดนตรีไทย มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วงดนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องบรรเลงและขับร้องต่อหน้าคณะกรรมการในวันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. ณ โรงละคร 150 ปีศรีสุริยวงศ์สํานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน

  • เกณฑ์การให้คะแนนวงดนตรี
    • ความถูกต้องของการจัดเครื่องดนตรีถูกต้องเหมาะสม
    • บุคลิกภาพสวยงามตามหลักดุริยางคศิลป์ไทย
    • ความไพเราะของเสียงในการบรรเลงมีความกลมกลืน
    • ความถูกต้องและแม่นยําของทํานองเพลง
    • จังหวะหน้าทับถูกต้อง
    • การสวมร้อง ส่งร้อง กลมกลืนเหมาะสม
    • แนวการบรรเลงถูกต้องตามอัตราจังหวะ
    • ความสามารถในการบรรเลงและการใช้เครื่องดนตรีแต่ละเครื่องถูกต้อง
    • กลวิธีการปรับวง ความเหมาะสม รูปแบบการบรรเลง
  • เกณฑ์การให้คะแนนการขับร้อง
    • ขับร้องถูกต้องตรงตามเนื้อร้องที่กําหนด
    • ระดับเสียงเข้ากับเครื่องดนตรีได้กลมกลืนและคงที่
    • ลีลาการร้องถูกต้อง ไพเราะ
    • ขับร้องถูกต้องตามอักขระวิธี
    • การร้องถูกต้องตามจังหวะหน้าทับ และรู้จักแบ่งคําให้สอดคล้องกับจังหวะ

หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 1 รางวัล โล่รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 8,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 1 รางวัล โล่รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 6,000 บาท
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 3,000 บาท
  • รางวัลระดับเหรียญทอง (80 – 100 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญทอง
  • รางวัลระดับเหรียญเงิน (70 – 79 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญเงิน
  • รางวัลระดับเหรียญทองแดง (60 – 69 คะแนน) ไม่จํากัดจํานวน เกียรติบัตรเหรียญทองแดง
  • รางวัลนักดนตรีไทยดีเด่น แต่ละเครื่องดนตรี (เฉพาะเครื่องดําเนินทํานองและขับร้อง) 9 รางวัล เกียรติบัตรนักดนตรีไทยดีเด่น

หมายเหตุ

  • เกียรติบัตรจะได้รับเฉพาะวงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเท่านั้น
  • วงดนตรีที่ได้คะแนนต่ํากว่า 60 คะแนน จะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการประกวด
  • เกียรติบัตรที่ได้รับจะเป็นเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่นําส่งผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น

ติดต่อสอบถาม

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์มนัส ประภักดี โทรศัพท์ 081 274 2130
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง โทรศัพท์ 086 363 7307
File attachments: 
Deadline: 
01 Oct 2024 09:00 to 31 Oct 2024 18:00

Members Online

There are currently 0 users online.