ประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทอง พุทธศักราช ๒๕๖๖
มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ขอเชิญนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา สมัครเข้าร่วมการประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทอง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ชิงทุนการศึกษา และเกียรติบัตร
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกวด
- การประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทองฯ กําหนดใช้เครื่องดนตรีไทย ๖ ชนิด คือ ซอด้วง (สายไหม) ซออู้(สายไหม) จะเข้ขลุ่ยเพียงออ ขิมสาย (๗ หย่อง) และระนาดเอก (ไม้นวม) สําหรับการประกวดทุกรอบ ตั้งแต่รอบคัดเลือกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ
- เครื่องกํากับจังหวะ สําหรับรอบคัดเลือกให้ใช้ฉิ่งและโทน–รํามะนา หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
- สําหรับรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ ให้ใช้ฉิ่งและโทน–รํามะนาซึ่งเป็นเครื่องกลางที่คณะกรรมการจัดประกวดฯ เตรียมไว้ให้เท่านั้น
ระดับการศึกษาที่จัดประกวด
- ระดับประถมศึกษา (ตั้งแต่ชั้น ป.๑ ถึง ป.๖)
- ระดับมัธยมศึกษา (ตั้งแต่ชั้น ม.๑ ถึง ม.๖)
รายละเอียดในการประกวด
ผู้สมัครเข้าประกวดจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- เป็นนักเรียนที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นเรียนหรือเทียบเท่า ทั้งสายสามัญ สายวิชาชีพ หลักสูตรนานาชาติโฮมสกูล และเยาวชนที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศใน
- ระดับ Primary School และ High School ประจําปีการศึกษา ๒๕๖๖ ในระดับที่คณะกรรมการจัดการประกวดฯ กําหนด
- สามารถบรรเลงเพลงที่กําหนดตามประเภทเครื่องดนตรีที่สมัครเข้าประกวดได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบตามกติกาของคณะกรรมการจัดการประกวดฯ
- เป็นผู้มีมารยาทดีมีศีลธรรม มีความประพฤติเรียบร้อย และอยู่ในกรอบประเพณีอันดีงาม
- ไม่เคยถูกให้ออก ไล่ออก จากโรงเรียน เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
- สมัครเข้าประกวดได้ตามระดับชั้นเรียนที่ได้กําหนดไว้ในข้อ ๒ เท่านั้น
- เลือกเครื่องดนตรีที่สมัครเข้าประกวดได้เพียงชนิดเดียวเท่านั้น
- เครื่องดนตรีใดที่มีผู้สมัครประกวดไม่ถึง ๑๐ คน อาจงดประกวดในประเภทนั้น
- ไม่อนุญาตให้ผู้ที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศสมัครเข้าประกวดในเครื่องดนตรีประเภทเดิมในระดับการศึกษาเดิม ยกเว้นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด
- บรรเลงดนตรีไทยศรทอง พุทธศักราช ๒๕๖๔ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดในเครื่องดนตรีประเภทเดิมในระดับการศึกษาเดิมได้
รอบการประกวด
- รอบคัดเลือก – พิจารณาจากการดู VDO Clip (เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศผลทางหน้า เว็บเพจในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖)
- รอบรองชนะเลิศ – บรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการ ณ สถานที่ประกวด ที่กรุงเทพมหานคร (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖)
- รอบชิงชนะเลิศ – บรรเลงต่อหน้าคณะกรรมการ ณ สถานที่ประกวด ที่กรุงเทพมหานคร (เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗)
ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติ คณะกรรมการจัดการประกวดฯ จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประกวดเพื่อความเหมาะสม โดยจะแจ้งให้ทราบทางหน้าเพจการประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทอง
กําหนดการการประกวด
- รอบคัดเลือก
- ส่งคลิปผลงานผ่านช่องทางออนไลน์ วันที่ ๑ สิงหาคม – ๑๕ กันยายน ๒๕๖๖
- กรรมการพิจารณาคัดเลือก เดือนตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
- แจ้งผลการคัดเลือกในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ ทางเพจ www.facebook.com/sornthongthai
- รอบรองชนะเลิศ
- เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖
- คณะกรรมการจัดการประกวดฯ จะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่ในการประกวดเครื่องดนตรีแต่ละประเภทในภายหลัง
- ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศหลังเสร็จสิ้นการประกวดในแต่ละวัน ทาง www.facebook.com/sornthongthai
- รอบชิงชนะเลิศ
- เดือนมกราคม ๒๕๖๗
- คณะกรรมการจัดการประกวดฯ จะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา และสถานที่ในการประกวดเครื่องดนตรีแต่ละประเภทในภายหลัง
- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลหลังเสร็จสิ้นการประกวดในแต่ละวัน โดยการติดประกาศ ณ สถานที่จัดประกวด
- มอบรางวัล เดือนมิถุนายน ๒๕๖๗
หมายเหตุ กําหนดการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม คณะกรรมการจัดการประกวดฯ จะแจ้งให้ทราบทางหน้าเพจการประกวดฯ ww.facebook.com/sornthongthai
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน
การตัดสินเรื่องราวใดๆ ย่อมต้องมีเกณฑ์สําหรับใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาด้วยกันทั้งนั้น แต่เกณฑ์ในการตัดสินอาจผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างแล้วแต่จุดมุ่งหมายของการประกวดฯ หรือความเห็นดีเห็นงามของคณะกรรมการผู้ตัดสิน สําหรับการประกวดบรรเลงดนตรีไทย "ศรทอง" นั้น อ้างอิงมาจากชื่อของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จึงใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาซึ่งได้มาจากแนวคําสอนของท่านเป็นหลักสําคัญในการพิจารณาคือ
นักดนตรีที่ถือว่ามีความสามารถนั้นต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสําคัญ ๕ ประการ อันได้แก่
- มีบุคลิกท่าทางดีรวมทั้งกิริยามารยาทเรียบร้อย
- มีความทรงจําทํานองเพลงได้แม่นยํา
- มีความสามารถในการควบคุมบังคับเสียงได้ดังชัดเจนดี
- มีความสามารถในแนวการบรรเลงที่ลงจังหวะได้ถูกต้องตามทํานองเพลง
- มีเม็ดพราย (ทางเพลง) ในการบรรเลงได้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ประกวด
หากนักดนตรีคนใดมีคุณสมบัติครบถ้วนที่ ๕ ข้อดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีความสามารถทางดนตรีการประกวดบรรเลงดนตรีไทย "ศรทอง" จึงใช้หลักทั้ง ๕ ข้อนี้ ในการพิจารณาให้คะแนน
วิธีการให้คะแนน
เพื่อให้กรรมการผู้ตัดสินสามารถให้คะแนนได้สะดวกและตรงตามความหมายที่กล่าวถึงมากที่สุด คณะกรรมการจัดประกวดบรรเลงดนตรีไทยรางวัลศรทองจึงแบ่งความหมายของระดับคะแนนออกเป็น ๗ ระดับในแต่ละหัวข้อดังนี้
ระดับความหมายของคะแนน รางวัลศรทอง
- ดีมาก ๑๐ คะแนน (เป็นคะแนนสูงสุด)
- ค่อนข้างดีมาก ๙ คะแนน
- ดี ๘ คะแนน
- ค่อนข้างดี ๗ คะแนน
- ใช้ได้ ๖ คะแนน (คะแนนต่ำสุดที่ถือว่าผ่าน)
- ค่อนข้างใช้ได้ ๕ คะแนน
- ยังต้องปรับปรุง ๔ คะแนน (เป็นคะแนนต่ำสุด)
หมายเหตุ กรรมการมีสิทธิ์ให้คะแนนเป็น "จุดทศนิยม" ได้ในกรณีที่เห็นว่าผู้ประกวดมีความสามารถแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่สูงสุดต้องไม่เกิน ๑๐ คะแนน และต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า ๔ คะแนน
รางวัลการประกวด
- รางวัลแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
- ถ้วยรางวัล
ผู้เข้าประกวดที่ได้รางวัลชนะเลิศ ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จะได้รับถ้วยรางวัล - เข็มฝีมือศรทอง
ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ในแต่ละระดับที่ได้คะแนน "สิบอันดับแรก" จะได้รับเข็มฝีมือศรทอง กรณีที่มีผู้เข้าประกวดไม่ถึง ๑๐ คน ในการประกวดประเภทใดก็ตาม คณะกรรมการจัดการประกวดฯ จะมอบเข็มฝีมือศรทองให้เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนห้าอันดับแรกเท่านั้น - เกียรติบัตร
ผู้เข้าประกวดรอบชิงชนะเลิศและผู้ที่ได้รับรางวัลเข็มฝีมือศรทองจะได้รับเกียรติบัตร - หนังสือรับรอง
ผู้เข้าประกวดรอบรองชนะเลิศจะได้รับหนังสือรับรอง - ทุนการศึกษา
ผู้เข้าประกวดที่ได้รางวัลชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ จะได้รับทุนการศึกษา - รางวัลพิเศษ จากผู้สนับสนุน
ผู้เข้าประกวดที่ได้รับรางวัลเข็มฝีมือศรทอง จะมีสิทธิ์ได้รับรางวัลพิเศษ อาทิเครื่องดนตรีอุปกรณ์ดนตรีไทย สื่อการสอน ทุนการศึกษา จากผู้สนับสนุนโดยวิธีการจับฉลาก
- ถ้วยรางวัล
- ผู้เข้าประกวดที่ได้รางวัลชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ ๑ และรองชนะเลิศอันดับ ๒ จะได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
- ระดับประถมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัล เข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๖,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๔,๐๐๐ บาท
- ระดับมัธยมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัล เข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๖,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้รับเข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๕,๐๐๐ บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้รับเข็มฝีมือศรทอง และเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๔,๐๐๐ บาท
- ระดับประถมศึกษา
ในกรณีที่ผู้ประกวดได้คะแนนความเห็นเท่ากัน คณะกรรมการจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในหัวข้อ "ระบบการให้คะแนนในการประกวดบรรเลงดนตรีไทยศรทอง ฯ" เพื่อให้มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ รางวัลละ ๑ คนเท่านั้น
ติดต่อสอบถาม
- โทรศัพท์ ๐๘.๓๑๓๔.๗๔๖๖
- อีเมล์ sornthongthai@gmail.com