ประกวดวงดนตรีไทย "พระอาทิตย์ชิงดวง" ประจำปี 2567
วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอเชิญนักเรียน นักศุึกษา หรือเทียบเท่า สมัครเข้าร่วมประกวดวงดนตรีไทย "พระอาทิตย์ชิงดวง" ประจำปี 2567 ในงานวันคล้ายวันพิราลัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา โล่รางวัล และเกียรติบัตร
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
วงดนตรีเข้าประกวด
วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์
เพลงที่ใช้ในการประกวด
เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง 2 ชั้น
บทร้องสําหรับการประกวด
บทร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง 2 ชั้น เนื้อร้องของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
รายละเอียดเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกวด
- ซอด้วง 1 คัน
- ซออู้ 1 คัน
- จะเข้ 1 ตัว
- ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
- ระนาดเอก 1 ราง
- ระนาดทุ้ม 1 ราง
- ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
- ฆ้องวงเล็ก 1 วง
- กลองแขก 1 คู่
- ฉิ่ง 1 คู่
- กรับ 1 คู่
- ฉาบเล็ก 1 คู่
- โหม่ง 1 ใบ
- ขับร้อง 1 คน
รวมทั้งสิ้น 15 คน
หมายเหตุ
- ให้เลือกเครื่องดนตรีซออู้ หรือขลุ่ยเพียงออในการว่าดอก
- สามารถใช้เปิงมางในการบรรเลงประกอบในช่วงที่เป็นทํานองภาษา
- สถาบันสามารถส่งวงดนตรีเข้าร่วมการประกวดได้มากกว่า 1 วง โดยผู้เข้าประกวดจะต้องไม่ซ้ํากัน
- สามารถนํานักเรียนต่างสถาบันในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่าเข้าร่วมวงดนตรีโดยไม่จํากัดชนิด / ประเภทของการบรรเลง / ขับร้อง จํานวนไม่เกิน 1 คน
รายละเอียดการประกวด
- รอบคัดเลือก
- สถานศึกษาที่สนใจเข้าร่วมประกวดให้นําส่งเอกสารและหลักฐานการสมัคร ดังต่อไปนี้
- เอกสาร/หลักฐาน
- ใบสมัครที่ระบุข้อมูลผู้สมัคร พร้อมลายเซ็นผู้บริหารของสถาบันรับรอง
- สําเนาบัตรประจําตัวนักเรียนหรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เข้าร่วมประกวดพร้อมลงชื่อรับรองสําเนา
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนผู้ฝึกสอนและควบคุมพร้อมลงชื่อรับรองสําเนา
- การบันทึกผลงานการบรรเลงวงดนตรีไทยในรูปแบบ VDO Clip
- ให้ผู้บรรเลงสวมเครื่องแบบนักเรียน
- ทําการบันทึกเพลงโดยไม่ต้องประกาศชื่อเพลง ชื่อนักดนตรี/นักร้อง และชื่อโรงเรียน โดยการบันทึก ภาพและเสียงให้เริ่มจับภาพตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบเพลง โดยมิให้หัวเพลงหรือท้ายเพลงขาดในระหว่างการบรรเลง และห้ามตัดต่อโดยเด็ดขาด หากตรวจพบว่ามีการตัดต่อจะตัดสิทธิ์การประกวด
- การตั้งกล้องบันทึกภาพ ให้ตั้งกล้องตรงหน้าผู้บรรเลงให้เห็นชัด เพื่อให้เห็นอากัปกิริยาของผู้บรรเลง/ขับร้อง ห้ามเคลื่อนไหวกล้องและซูมภาพเข้า-ออกโดยเด็ดขาด
- ภาพและเสียงที่บันทึกจะต้องมีความคมชัดและต้องสอดคล้องกัน หากพบว่าการบันทึกภาพและเสียงเหลื่อมกันจะเสียสิทธิ์การประกวด
- ให้ระบุชื่อ VDO Clip ได้แก่ ชื่อวงดนตรี-ชื่อโรงเรียน (ตัวอย่าง: วงศรีสุริยวาฑิต-โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) และตรวจสอบคุณภาพของ VDO Clip ก่อนอัปโหลด VDO Clip ในเว็ปไซต์ยูทูป (YouTube) โดยกําหนดระดับการแชร์เป็นบันทึกหรือเผยแพร่แบบไม่เป็นสาธารณะ (ทุกคนที่มีลิงก์วิดีโอจะดูวิดีโอได้) และนําส่งลิงค์ URL ผลงานที่บันทึกไว้ในเว็ปไซต์ยูทูป (YouTube) ให้ถูกต้อง
- เอกสาร/หลักฐาน
- วิธีการนําส่ง
นําส่งข้อมูลและไฟล์ใบสมัครและหลักฐาน มาที่ E-mail: bsru.collegeofmusic@gmail.com ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น. ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 18:00 น. โดยกําหนดให้นําส่งข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ กรณีไม่สามารถเปิดไฟล์ได้หรือไฟล์ที่นําส่งไม่สมบูรณ์ถือว่าสละสิทธิ์การเข้าประกวด - ประกาศผลรอบคัดเลือกภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ทาง Page Facebook: ดนตรีไทย มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- สถานศึกษาที่สนใจเข้าร่วมประกวดให้นําส่งเอกสารและหลักฐานการสมัคร ดังต่อไปนี้
- รอบชิงชนะเลิศ
วงดนตรีที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องบรรเลงและขับร้องต่อหน้าคณะกรรมการในวันพุธที่17 มกราคม 2567เวลา 13.00 น. ณ โรงละคร 150 ปี ศรีสุริยวงศ์ สํานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยกําหนดให้ทุกวงดนตรีใช้เครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์ที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น สําหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องเป่า ทุกวงดนตรีสามารถใช้เครื่องดนตรีของตนเองหรือใช้เครื่องดนตรีที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน (ตัดสินให้คะแนนเฉพาะเพลงบังคับเท่านั้น)
- เกณฑ์การให้คะแนนวงดนตรี
- ความถูกต้องของการจัดเครื่องดนตรีถูกต้องเหมาะสม
- บุคลิกภาพสวยงามตามหลักดุริยางคศิลป์ไทย
- ความไพเราะของเสียงในการบรรเลงมีความกลมกลืน
- ความถูกต้องและแม่นยําของทํานองเพลง
- จังหวะหน้าทับถูกต้อง
- การสวมร้อง ส่งร้อง กลมกลืนเหมาะสม
- แนวการบรรเลงถูกต้องตามอัตราจังหวะ
- ความสามารถในการบรรเลงและการใช้เครื่องดนตรีแต่ละเครื่องถูกต้อง
- กลวิธีการปรับวง ความเหมาะสม รูปแบบการบรรเลง
- เกณฑ์การให้คะแนนการขับร้อง
- ระดับเสียงเข้ากับเครื่องดนตรีได้กลมกลืนและคงที่
- ลีลาการร้องถูกต้อง ไพเราะ
- ร้องถูกต้องตามอักขระวิธี
- การร้องถูกต้องตามจังหวะหน้าทับ และรู้จักแบ่งคําให้สอดคล้องกับจังหวะ
หมายเหตุ การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
รางวัลการประกวดรอบชิงชนะเลิศ
- รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 10,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 1 รางวัล โล่รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 8,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 1 รางวัล โล่รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 6,000 บาท
- รางวัลชมเชย 2 รางวัล เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา 3,000 บาท
หมายเหตุ
- เกียรติบัตรจะได้รับเฉพาะวงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเท่านั้น
- เกียรติบัตรที่ได้รับจะเป็นเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่นําส่งผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น
ติดต่อสอบถาม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชาวน์มนัส ประภักดี โทรศัพท์ 081-274-2130
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุรพงษ์ บ้านไกรทอง โทรศัพท์ 086-363-7307