Samart Innovation Awards 2010
SAMART INNOVATION AWARDS 2010 การประกวดออกแบบ และพัฒนาซอฟแวร์ ที่พร้อมเป็นฐานปล่อยพลังทางความคิด ติดสปีดให้ซอฟแวร์ไทยทะยานสู่วงโคจรความสำเร็จอย่างรวดเร็ว พร้อมโอกาสครั้งสำคัญ กับที่สุดของรางวัลแห่งความภูมิใจ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 5 แสนบาท รวมทั้งส่วนแบ่งรายได้ตามข้อตกลงหากผลงานได้พัฒนาออกสู่ตลาด
ที่มาโครงการ
"กลุ่มบริษัทสามารถ" เชื่อว่า การส่งเสริมความสามารถให้กับเยาวชนไทย นั้นถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้สังคมไทยมีศักยภาพ และแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เปรียบเสมือนเป็นจุด เริ่มต้น ในอันที่จะก่อให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้า
เราจึง มีความมุ่งหวังที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถ และกระตุ้นให้เยาวชนไทยเกิดความตื่นตัวและสนใจต่อเทคโนโลยีและการสื่อ สารอย่างจริงจัง โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความรู้ความสามารถและได้ลงมือกระทำอย่าง จริงจัง อีกทั้งเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษาซึ่งกันและกัน เกิดเป็นชุมชนนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐ ในการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพของเยาวชนและบุคคลากรของประเทศ
"กลุ่มบริษัทสามารถ" จึงได้จัดโครงการประกวดออกแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ Samart Innovation Awards (SIA) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2546 ร่วมกับเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย และได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนก้าวสู่ปีที่ 8 ในปี 2553 ได้นักพัฒนาสายเลือดไทยแล้วทั้งสิ้นกว่า 5,000 คน จากแนวความคิดในการพัฒนาผลงาน 1,589 แนวคิด และได้มีการนำแนวคิดที่ได้มาต่อยอดทำธุรกิจ เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาสายเลือดไทยอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมความสามารถของคนไทย ในการคิดสร้างสรรค์ในด้านการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
- เพื่อสร้างเพิ่มพูนศักยภาพของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย และสร้างประโยชน์ทางด้านซอฟต์แวร์ ให้กับสังคมไทย
- เพื่อสร้างชุมชนนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
- เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดและโอกาสทางธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ไทย ให้แก่ผู้ที่มีความสามารถของไทย
การประกวดแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. Business Software
ซอฟต์แวร์ แอพลิเคชั่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ซึ่งอาจใช้เป็นกลไกหลักในการผลิตสินค้าหรือ ให้บริการ ใช้เป็นกลไกเสริมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้เป็นกลไกเพื่อสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน หรือใช้เป็นกลไกเพื่อ การตรวจสอบและธรรมาภิบาล เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายของซอฟต์แวร์ทาง ธุรกิจอาจประกอบด้วยธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรืออาจเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ไม่จำกัดว่าต้องจัดอยู่ภายใต้ภาคอุตสาหกรรมใด ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตหรือภาคการบริการ
2. Mobile Phone Application
การออกแบบและพัฒนา Application ใหม่บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี 3G
เทคโนโลยีที่ใช้ประกวด
Device: Mobile phone, PDA Phone
Platform: Symbian, Java Application, Java MIDP 2.0, Window Mobile, iPhone, Android (Google OS)
Programming Language: Java (J2ME), VB, C#, C++, etc.
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- ประเภท Business Software บุคคลทั่วไป (เปิดกว้างสำหรับนิสิตนักศึกษา โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน)
- ประเภท Mobile Phone Application นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรี (มีสถานะเป็นนักศึกษา ณ วันที่สมัคร) และมีอาจารย์ที่ปรึกษา รับรอง 1 ท่าน
รางวัล และ สิทธิประโยชน์อื่นๆ
รางวัล
ประเภท | Gold | Silver | Bronze | ชมเชย 2 รางวัล |
Business Software | 150,000 | 80,000 | 50,000 | 35,000 |
Mobile Phone App. แบ่งออกเป็น นักศึกษาผู้ประกวด ทุนวิจัยอาจารย์ที่ปรึกษา |
55,000 50,000 5,000 |
33,000 30,000 3,000 |
12,000 10,000 2,000 |
5,000 - - |
ทีมที่ได้รับรางวัล Gold Award ของแต่ละประเภท จะได้รับโล่พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สิทธิประโยชน์อื่นๆ
- ข้อเสนอพิเศษจากบริษัทฯ ในการทำธุรกิจร่วมกัน
- สิทธิพิเศษในการเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ และโครงการบ่มเพาะธุรกิจซอฟต์แวร์ กับเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
- เข้ารับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ อาทิ เรื่องเทคนิคในการพัฒนาผลงาน แนวโน้มการตลาด
ระยะเวลาการประกวด
1. ประเภทBusiness Software
รอบแรก คัดเลือกผลงาน
o ส่ง ใบสมัคร ทางเว็บไซต์ เม.ย.- 30 มิ.ย. 2553
o ส่ง Proposal 30 ก.ค. 53
o คัดเลือก Proposal เพื่อเข้าสู่รอบสุดท้าย 10 ผลงาน 1- 15 ส.ค. 2553
o ประกาศผลผู้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย 20 ส.ค. 2553
รอบสุดท้าย นำเสนอผลงาน
o นำเสนอผลงาน พร้อม Prototype 13 พ.ย. 2553
o ประกาศผล + มอบรางวัล 15 ธ.ค. 2553
2. ประเภท Mobile Phone Application
ส่งใบสมัครทางเว็บไซต์ เม.ย.-30 มิ.ย. 2553
รอบแรก คัดเลือกผลงาน
o คัดเลือกจาก ใบสมัคร ทางเว็บไซต์ 1-7 ก.ค. 2553
o ประกาศผลรอบแรก (ทางเว็บไซต์) 12 ก.ค. 2553
o อบรมเทคนิคในการพัฒนาผลงาน 28 ก.ค. 2553
รอบที่ 2 นำเสนอผลงาน ครั้งที่ 1
o ส่งผลงาน Proposal + Demo ผลงาน 2 ก.ย. 2553
o นำเสนอแนวคิดและ Demo ต่อคณะกรรมการ 11 ก.ย. 2553
o ประกาศผลผู้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย 15 ก.ย. 2553
รอบสุดท้าย นำเสนอผลงาน รอบสุดท้าย
o ส่งผลงาน Proposal ที่แก้ไข + ผลงานที่สำเร็จ 28 ต.ค. 2553
o ตรวจสอบผลงานโดย R&D 1-4 พ.ย. 2553
o นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ 6 พ.ย. 2553
o ประกาศผล+มอบรางวัล 15 ธ.ค. 2553
เกณฑ์การตัดสิน
- ประเภทBusiness Software
เกณฑ์การคัดเลือก เปอร์เซ็น
Innovative มีความคิดสร้างสรรค์ แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว 30%
Originality มีความสดใหม่ เป็นตัวของตัวเอง 20%
Business Feasibility ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ 50% - ประเภทMobile Phone Application
เกณฑ์การคัดเลือก เปอร์เซ็น
Innovative ความคิดสร้างสรรค์ 30%
Utility การนำไปใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ ใช้งานได้จริง 25%
Commercialize การนำไปต่อยอดทางธุรกิจ 25%
Social Impact มีประโยชน์และคุณค่าต่อสังคม 10%
Presentation การนำเสนอผลงานและการตอบคำถาม 10%